ปลาตะเพียน ราชาแห่งแม่น้ำ สัญลักษณ์แห่งความมงคล

by animalkingdom
132 views
ปลาตะเพียน

เมื่อนึกถึงปลาตะเพียน หลายคนอาจนึกถึงตุ๊กตาสานจากใบมะพร้าวหรือใบลาน เครื่องรางของขลังที่ช่วยเสริมความเป็นสิริมงคลได้ แต่ความเป็นจริงแล้วในฐานะของสัตว์น้ำ พวกมันจัดเป็นราชาแห่งแม่น้ำที่เต็มไปด้วยความพลิ้วไหว มีวิถีชีวิตที่เต็มไปด้วยความน่าสนใจ และยังเป็นอาหารอันโอชะอีกด้วย ในยุคของพระเจ้าท้ายสระห้ามราษฎรจับหรือรับประทานพวกมันกันเลยทีเดียว วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักจับปลาสายพันธุ์นี้กัน พวกมันจะมีลักษณะเป็นอย่างไรและจะน่าสนใจขนาดไหน ไปติดตามกันได้เลย

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่

ทำความรู้จักกับปลาตะเพียนในฐานะของสัตว์ในแม่น้ำ

ปลาตะเพียน

ปลาตะเพียน ปลาน้ำจืดที่ในภาคอีสานนิยมเรียกว่าปลาปาก พวกมันจัดเป็นปลาพื้นเมืองในประเทศไทยที่สามารถพบได้ทั่วไปตามแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ในสมัยสุโขทัยยังมีการใช้พวกมันเป็นลวดลายของเครื่องเคลือบ

ชื่อที่ใช้เรียกกันมาจนถึงในปัจจุบันปรากฏตามหลักฐานในสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยมีการเล่าว่าสมเด็จพระเจ้าท้ายสระชื่นชอบการเสวยปลาตะเพียนนี้เป็นอย่างมาก มีการกำหนดว่าหากราษฎรคนใดจับหรือกินปลาสายพันธุ์ดังกล่าวจะถูกปรับเป็นจำนวนเงินถึง 5 ตำลึงเลยทีเดียว

รูปร่างของพวกมันจะเป็นปลาที่มีลำตัวแบนออกด้านข้าง มีหัวขนาดเล็กทรงสามเหลี่ยม ทั้งปากและดวงตาต่างเล็กไปด้วยกันหมด บริเวณส่วนหลังและส่วนท้องตรงกลางจะยื่นขึ้นด้านบนและด้านล่าง มีลักษณะคล้ายทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

บริเวณด้านหน้าจะมีหนวดเส้นเล็ก ๆ จำนวน 2 คู่ด้วยกัน เกล็ดตามลำตัวจะเป็นแนวเส้นด้านข้างประมาณ 29 ถึง 31 เกล็ด แล้วแต่ขนาดตัว โดยทั่วไปจะมีลำตัวเป็นสีเงินดูสะท้อนแสงแวววาว ส่วนหลังจะมีสีเข้มกว่าส่วนอื่นเล็กน้อย ส่วนหน้าท้องก็จะเป็นสีสว่างกว่าส่วนอื่น เมื่อโตเต็มที่แล้วปลาตะเพียนจะมีความยาวลำตัวได้สูงสุดประมาณ 50 เซนติเมตร

ที่อยู่อาศัยของปลาตะเพียน

ปลาตะเพียน

ปลาตะเพียนเป็นสัตว์น้ำที่สามารถพบได้ทั่วไปในบริเวณแหลมอินโดจีน เกาะสุมาตรา แถบชวา อินเดีย ปากีสถาน รวมถึงในประเทศไทยของเรา อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วไปที่เป็นแหล่งน้ำจืด ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ คลอง บึง หนอง รวมไปถึงทะเลสาบทั่วทุกภาคในประเทศไทย นอกจากนี้พวกมันยังเป็นสัตว์เลี้ยงที่สามารถพบเจอได้ตามกระชังปลาทั่วไปอีกด้วย

นิสัยและความเป็นอยู่ของปลาตะเพียน

ปลาตะเพียน

ปลาตะเพียนมักจะหลบซ่อนอยู่ตามบริเวณที่มีน้ำนิ่งหรือมีน้ำไหลแบบอ่อน ๆ เท่านั้น ไม่ค่อยพบว่าพวกมันอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีน้ำไหลแรงจัดแต่อย่างใด แม้ว่ารูปลักษณ์ภายนอกจะดูบอบบาง แต่พวกมันสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็ว เติบโตได้ดีในบริเวณน้ำกร่อยที่มีความเค็มไม่เกินกว่า 7/1,000 อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยจะอยู่ที่ประมาณ 25 ถึง 33 องศาเซลเซียส

พวกมันจัดเป็นสัตว์กินพืช ตอนยังเป็นเด็กจะกินพวกแพลงก์ตอนที่มีขนาดเล็กหรือสาหร่ายเซลล์เดียว เมื่อมีขนาดตัวประมาณ 3 นิ้วขึ้นไป จะเริ่มกินผักที่ขึ้นอยู่ในน้ำอย่างสาหร่ายพุงชะโด แหนเป็ด หรือผักบุ้ง แต่เมื่อโตเต็มวัยแล้วจะสามารถกินใบพืชได้มากขึ้นอย่างเช่นพวกหญ้าขน ใบของต้นมันสำปะหลัง ใบต้นมันเทศ ส่วนใหญ่มักออกหากินในตอนกลางวันมากกว่าตอนกลางคืน

หากให้แยกเพศปลาตะเพียนด้วยสายตาถือเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะพวกมันมีความคล้ายคลึงกันมากไม่ว่าจะเป็นเพศไหน แต่หากเข้าใกล้ช่วงฤดูผสมพันธุ์เราจะสามารถสังเกตเห็นความแตกต่างของเพศผู้และเพศเมียได้ง่ายขึ้น เนื่องจากตัวเมียท้องจากโป่งนูนและรูก้นมีความกว้างมากกว่าปกติ ส่วนตัวผู้หน้าท้องจะมีความแบนราบ หากเรานำเอามือรีดท้องพวกมันก็จะมีน้ำสีขาวขุ่นไหลออกมาด้วย

เรียนรู้การเลี้ยงปลาตะเพียนตั้งแต่การเพาะพันธุ์ ไปจนถึงสถานที่เลี้ยง

ปลาตะเพียน

ปลาตะเพียนเป็นสัตว์ที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงปลาเชิงปศุสัตว์ไม่แพ้กับปลาสายพันธุ์อื่น สิ่งที่ควรรู้อย่างแรกเลยก็คือ การเพาะพันธุ์ปลา หลังจากที่เราจับปลาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์มาอยู่ร่วมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถจับพวกมันฉีดฮอร์โมนแล้วปล่อยให้ผสมพันธุ์กันเองได้เลย โดยปล่อยแม่ปลา 1 ตัวต่อปลาตัวผู้ 2 ตัวในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 3 ตารางเมตร และมีความลึกตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป 

นอกจากนี้คุณยังสามารถผสมเทียมได้อีกด้วย หลังจากฉีดฮอร์โมนไปแล้วประมาณ 6-8 ชั่วโมง ให้รีดไข่ปลาออกมา จากนั้นก็นำเอาปลาตัวผู้มารีดบริเวณท้องเพื่อเอาน้ำเชื้อลงไปผสมกับไข่ ใช้ปลาแม่พันธุ์ 1 ตัวต่อน้ำเชื้อของปลาตัวผู้ประมาณ 2 ตัว คนไข่และน้ำเชื้อให้เข้ากันจนดีแล้วรอให้ไข่พองน้ำเต็มที่ประมาณ 20 นาทีก็เป็นอันเสร็จสิ้น

เมื่อปลาตะเพียนฟักออกมาจากไข่เรียบร้อยแล้ว เราก็ต้องมาอนุบาลพวกมันในบ่อดิน ความลึกไม่ควรเกิน 40 เซนติเมตร จากนั้นค่อยเพิ่มระดับน้ำประมาณอาทิตย์ละ 10 เซนติเมตรเพื่อให้น้ำยังคงมีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการเติบโต ไม่จำเป็นต้องเติมปุ๋ยในบ่อ จากนั้นก็ให้รำข้าวผสมปลาป่นด้วยอัตราส่วน 3:1 ประมาณวันละ 3-4 ครั้ง

สำหรับการดูแลปลาที่โตเต็มวัยแล้วให้ใส่ปุ๋ยคอกประมาณ 150 กิโลกรัมขึ้นไปถึง 200 กิโลกรัมต่อพื้นที่บ่อ 1 ไร่ เป็นประจำทุก 2-3 เดือน แต่สัดส่วนการใส่ปุ๋ยอาจต่างออกไปหากคุณเลือกใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ โดยเฉลี่ยแล้วต้นทุนในการเลี้ยงตะเพียนจะอยู่ที่ประมาณ 10,000 บาท ต่อ 1 ไร่ ได้รายรับมาประมาณ 16,000 บาทขึ้นไปต่อไร่ ถือเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีรายได้ดีพอตัวเลยทีเดียว

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ของเหล่าสัตว์โลกแสนรู้ได้ที่ Animalkingdom.me

บทความที่เกี่ยวข้อง

Leave a Comment