ลิงลม

by animalkingdom
590 views

วันนี้ Animal kingdom จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสัตว์ป่าอย่าง “ลิงลม” กันค่ะ หลาย ๆ คนอาจจะเคยเห็นตามสวนสัตว์หรือวัดต่าง ๆ มาบ้างแล้ว แต่ยังอาจจะไม่รู้ว่าเจ้าลิงลมนี้ มีลักษณะเป็นอย่างไร น่าสนใจแค่ไหน วันนี้ Animal kingdom มีข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับเจ้าสัตว์ป่าชนิดนี้ หากสนใจ ไปติดตามกันได้เลยค่ะ

ลิงลม

ข้อมูลทั่วไปของลิงลม

ลิงลม หรือ ลิงจุ่น หรือ นางอาย อยู่ในสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยจะอยู่ในวงศ์ Lorisidae ในอันดับของไพรเมต ปกติสัตว์ป่าพวกนี้จะเคลื่อนไหวช้าเป็นอย่างมาก แต่พวกมันจะว่องไวในช่วงกลางคืน ในช่วงที่มันออกหาอาหาร และในเวลาที่พวกมันโดนลมพัด ทำให้เป็นที่มาของชื่อสัตว์ป่าชนิดนี้ โดยพวกมันมีวิวัฒนาการมามากกว่า 50 ล้านปีแล้ว

ลิงลม

ลักษณะทางกายภาพ

พวกมันมีขนที่นุ่มสั้นคล้ายกับกำมะหยี่ ส่วนลำตัวจะป้อม ๆ กลม และอ้วน มีรูปร่างหน้าตาที่น่ารักคล้ายกับตุ๊กตาที่มีตากลมโต โดยสัตว์ป่าชนิดนี้จะมีสีขนที่มีความหลากหลาย แต่จะแตกต่างกันออกไป ตามสภาพที่อยู่อาศัยในแต่ละพื้นที่ ซึ่งบางชนิดก็มีรอยขีดคาดอยู่บนใบหน้า ดวงตา ส่วนหัว เส้นกลางสันหลัง โดยเป็นลักษณะสำคัญที่ใช่สำหรับการแบ่งชนิด แต่พวกมันมีส่วนหางที่สั้นมากจนดูเหมือนกับไม่มีหางอยู่ ส่วนน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่จะอยู่ประมาณ 1 กิโลกรัม นอกจากนี้สัตว์ป่าชนิดนี้ยังมีลิ้น 2 ลิ้นอีกด้วย นั่นก็คือ ลิ้นยาวกับลิ้นสั้น ซึ่งมีไว้ใช้กินอาหารที่มีความแตกต่างกัน แถมยังมีกระดูกสันหลังที่มีความพิเศษ ที่ช่วยให้สามารถบิดตัวได้คล้ายกับงู พวกมันจึงสามารถปีนป่ายได้เป็นอย่างดี 

การจำแนกชนิด

ปัจจุบันลิงลมแบ่งออกทั้งหมดเป็น 8 ชนิด ได้แก่ Nycticebus bancanus, Nycticebus bengalensis, Nycticebus borneanus, Nycticebus coucang, Nycticebus kayan, Nycticebus pygmaeus, Nycticebus javanicus, Nycticebus menagensis

ลิงลม

พฤติกรรม

ลิงลมจะชอบอาศัยอยู่ตามลำพังตัวเดียว เป็นสัตว์ที่ออกหากินในช่วงเวลากลางคืน ได้การจับแมลง สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก รวมไปถึงไข่นกเป็นอาหารหลัก ตัวผู้จะกินน้ำในปริมาณที่มาก แล้วจะถ่ายปัสสาวะไว้มีกลิ่นที่รุนแรงและฉุนมาก เพื่อประกาศอาณาเขตที่มันปกครอง

สิ่งที่น่ารู้

ลิงลมมีกระดูกสันหลังที่พิเศษ และมีมือที่ซ่อนนิ้วไว้สำหรับการจับเหยื่อ เคลื่อนที่ไปมาโดยไม่เป็นที่สังเกต นอกจากนี้สัตว์ป่าชนิดนี้จะมีพิษที่คล้ายน้ำมันซ่อนอยู่บริเวณใต้ข้อศอก มีฤทธิ์ในการทำลายเนื้อเยื่อ โดยมันจะใช้ผสมกับน้ำลายเมื่อมันกัด ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบสาเหตุว่า ทำไมสัตว์ป่าชนิดนี้ถึงมีพิษ แต่ก็เชื่อว่า เกิดจากการที่สัตว์ป่าชนิดนี้ อาจจะได้รับพิษมาจากอาหารโปรดของพวกมันอย่างมด แมงและกิ้งกือ ซึ่งพิษของพวกมันก็มีลักษณะเดียวกันกับพิษกิ้งกือและมดนั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

Leave a Comment