หมูป่า สัตว์เศรษฐกิจน่าสนใจ

by animalkingdom
273 views

หมูป่ามีลักษณะคล้ายกับหมูบ้าน ซึ่งสัตว์ป่าชนิดนี้ก็นิยมนำมาเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งอีกด้วย เป็นการเลี้ยงเพื่อนำมาประกอบอาหารหรือการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน ในประเทศไทยของเรานั้นสามารถพบฝูงของหมูป่ากลางเมืองได้เพียงแค่ 2 แห่งเท่านั้น คือ กรุงเทพมหานคร ในเขตสะพานสูง โดยมีจำนวนประชากรของสัตว์ป่าชนิดนี้อยู่ราว 50 ตัว และในจังหวัดสมุทรปราการ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ มีจำนวนประชากรหมูอยู่ที่ประมาณ 200 ตัว วันนี้ Animal kingdom จะพาไปรู้จักกับสัตว์ป่าชนิดนี้กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปกันเลย

หมูป่า

ข้อมูลทั่วไปของหมูป่า

พวกมันจัดอยู่ในวงศ์ Suidae ซึ่งอยู่ในชั้น Mammalia โดยจะอยู่ในอันดับ Artiodactyla และอยู่ในไฟลัมสัตว์ที่มีแกนสันหลัง ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

หมูป่า

ลักษณะรูปร่าง

หมูป่ามีลักษณะคล้ายกับหมูบ้าน แต่สัตว์ป่าชนิดนี้จะมีขนที่ยาว ส่วนสีของลำตัวเป็นสีเทาหรือบางตัวอาจเป็นสีน้ำตาลเข้ม ขนบริเวณส่วนหัวจะชี้ตรงไปทางด้านหลัง สัตว์ป่าพวกนี้มีขนาดความยาวตั้งแต่หัวไปถึงลำตัวประมาณ 140-150 เซนติเมตร ส่วนความยาวของหางประมาณ 20-30 เซนติเมตร มีน้ำหนักตัวประมาณ 80-200 กิโลกรัม ตัวผู้จะมีน้ำหนักเยอะกว่าตัวเมียเสมอ โดยตัวเมียมีเต้านม 5 เต้า ลูกของสัตว์ป่าชนิดนี้เกิดมาจะเป็นสีน้ำตาลเข้มและจะมีแถบเส้นสีดำครอบผ่านลำตัว ดูมีความคล้ายกับแตงไทยบ้านเรา

หมูป่า

ลักษณะพฤติกรรม

หมูป่าเป็นสัตว์ป่าที่มีประสาทรับกลิ่นที่ไวมาก แต่ประสาทการได้ยินกับการมองเห็นจะไม่ค่อยดีนัก ยกเว้นช่วงที่มันสงสัยในกลิ่นประสาทหูและตาจะไวกว่าปกติ นั้นจึงทำให้จมูกของสัตว์ป่าชนิดนี้เป็นเสมือนเครื่องรับประกันความปลอดภัยของมัน พวกมันมีพฤติกรรมที่ชอบอยู่กันเป็นฝูง ขนาดฝูงจะมีประมาณ 6-5 ตัว จนไปถึงฝูงใหญ่ที่มีจำนวนหมูในฝูงที่ 50 ตัว โดยปกติแล้วตัวผู้ที่มีขนาดตัวใหญ่จะรวมฝูงเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ แต่ช่วงที่ไม่ผสมพันธุ์ก็จะแยกออกจากฝูงไปอยู่เพียงลำพัง ทำเรียกกันว่า “หมูโทน” พวกมันจะชอบหากินตอนเช้าหรือตอนเย็น และช่วงกลางวันจะมักหลบซ่อน

สถานภาพปัจจุบัน

หมูป่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์

หมูป่า

ถิ่นกำเนิดหรือที่อยู่อาศัย

สัตว์ป่าอย่างหมูป่าสามารถพบเห็นได้ในทวีปเอเชีย, ทวีปยุโรป, ทวีปอเมริกาใต้, ทวีปแอฟริกาเหนือและในไทยสามารถพบได้ทุกภาคในประเทศของเรา ซึ่งพวกมันจะอาศัยอยู่ตามป่าเต็งรัง, หนองน้ำและป่าดิบแล้ง

บทความที่เกี่ยวข้อง

Leave a Comment