ปูนา ขาเก

by animalkingdom
487 views
ปูนา

“มีนิทานนมนานกาเล ปูนาขาเกตัวใหญ่เสียไม่มี” เป็นเนื้อเพลงที่คุณคัฑลียา มารศรี ได้ขับร้องเอาไว้ ซึ่ง Animal kingdom เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะคุ้นหูกันเป็นอย่างดี และวันนี้ Animal kingdom จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ ปูนา ปูอีกสายพันธุ์หนึ่งที่ได้ชื่อมาจากแหล่งที่อยู่อาศัยของพวกมัน นั่นก็คือทุ่งนานั่นเอง พวกมันจะมีลักษณะเป็นอย่างไร ตาม Animal kingdom ไปดูพร้อม ๆ กันได้เลยค่ะ 

ข้อมูลทั่วไปของปูนา

ปูนาเป็นสัตว์น้ำจืด ซึ่งจะอยู่ในวงศ์ Parathelphusidae และอยู่ในสกุล Somanniathelphusa โดยในประเทศไทยของเราสามารถพบได้อยู่ 8 ชนิด ดังนี้ 

1. Somanniathelphusa germaini สามารถพบได้ 27 จังหวัด ได้แก่ ภาคตะวันตก 2 จังหวัด ภาคกลาง 22 จังหวัด ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ภาคเหนือ 1 จังหวัด และ ภาคใต้ 1 จังหวัด

2. Somanniathelphusa sexpunetata พบได้ 19 จังหวัด ได้แก่ ภาคตะวันตก 1 จังหวัด ภาคกลาง 1 จังหวัด ภาคตะวันออก 4 จังหวัด และภาคใต้ 13 จังหวัด

3. Somanniathelphusa bangkokensis  พบได้ 27 จังหวัด ได้แก่ ภาคตะวันตก 4 จังหวัด ภาคกลาง 8 จังหวัด ตะวันออก 2 จังหวัด ภาคใต้ 13 จังหวัด

 4. Somanniathelphusa maehongsonensis เป็นปูชนิดใหม่ ซึ่งพบได้ที่เดียวในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

5. Somanniathelphusa fangensis เป็นปูชนิดใหม่ โดยพบสัตว์น้ำชนิดนี้ได้แค่จังหวัดเชียงใหม่และลำปาง

6. Somanniathelphusa denchaii เป็นปูชนิดใหม่ที่พบได้ในจังหวัดแพร่

7. Somanniathelphusa nani เป็นชนิดใหม่ล่าสุดที่พบได้ที่จังหวัดน่าน

8. Somanniathelphusa dugasti พบในภาคตะวันตก 3 จังหวัด ภาคกลาง 10 จังหวัด ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ภาคเหนือ 9 จังหวัด และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16 จังหวัด

ปูนา

การกระจายพันธุ์

สัตว์น้ำชนิดนี้จะแพร่กระจายอยู่ทั่วไปตามภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมไปถึงบางพื้นที่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ซึ่งเกษตรกรที่ทำนาข้าวในประเทศไทย ถือว่าพวกมันเป็นศัตรูพืชชั้นดีของนาข้าว เนื่องจากสัตว์น้ำชนิดนี้จะกัดกินต้นข้าวที่ได้ปักดำใหม่ทำให้เกิดความเสียหายกบต้นข้าว จึงทำให้ชาวนาต้องปักดำใหม่หลายครั้ง ไม่ใช่แค่นี้ ปูยังขุดรูอยู่ตามคันนา ซึ่งทำให้คันนาไม่สามารถกักเก็บน้ำเอาไว้ได้ แต่ในทางกลับกัน พวกมันก็เป็นอาหารที่ราคาค่อนข้างถูกสำหรับชาวนาและหากินได้ง่าย โดยเฉพาะวิถีชีวิตของคนในชนบท 

ปูนา

พฤติกรรมทั่วไป

พวกมันสามารถพบได้มากในช่วงฤดูฝน เนื่องจากเป็นฤดูที่มีความอุดมสมบูรณ์ เพราะวิถีชีวิตของปูชนิดนี้ผูกพันอยู่กับน้ำ โดยพวกมันจะผสมพันธุ์และวางไข่เพียงแค่ปีละครั้ง ในช่วงกุมภาพันธ์-กรกฎาคม เมื่อเข้าสู่ช่วงผสมพันธุ์ ปูนาตัวเมียจะขุดรูให้สูงกว่าระดับน้ำ เพื่อเตรียมที่จะอุ้มไข่และจะไม่ลอกคราบจนกว่าไข่ของมันจะฟักออกมาเป็นตัว ซึ่งส่วนใหญ่แล้วพวกมันจะออกหากินในช่วงกลางคืน ลอกคราบประมาณ 13-15 ครั้ง ตลอดช่วงอายุขัย หลังจากที่ฟักเป็นตัวแล้วจะใช้เวลา 6-8 เดือน จึงจะโตเต็มวัย

บทความที่เกี่ยวข้อง

Leave a Comment