กุ้งแม่น้ำ สัตว์เศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อรายได้ของเกษตรกร

by animalkingdom
81 views
กุ้งแม่น้ำ

หากให้นึกถึงกุ้ง หลายคนคงนึกถึงสัตว์ทะเลที่มีเนื้อสีส้ม รสชาติหวานอร่อย แต่ในประเทศไทยของเรามีกุ้งแม่น้ำที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด นอกจากนี้ยังเป็นสายพันธุ์กุ้งที่ได้รับความนิยมในการบริโภคอีกด้วย มีขนาดตัวที่ค่อนข้างใหญ่ เนื้อแน่น ยิ่งตัวไหนที่บริเวณหัวมีมันยิ่งอร่อย พวกมันจึงกลายมาเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไม่น้อยเลยทีเดียว วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับกุ้งสายพันธุ์นี้ให้มากขึ้น รวมถึงเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับการเลี้ยงพวกมันด้วย

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่

ทำความรู้จักกับกุ้งแม่น้ำ อาหารไทยเลื่องชื่อ รสชาติอร่อย

กุ้งแม่น้ำ

กุ้งแม่น้ำ มีอีกหนึ่งชื่อเรียกว่า กุ้งก้ามกราม จัดเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ค่อนข้างได้รับความนิยมในการบริโภคนับตั้งแต่ในยุคสมัยที่เราต้องไปจับพวกมันในแม่น้ำ จนตอนนี้มีการเพาะเลี้ยงเป็นฟาร์มอยู่ทั่วทั้งประเทศ

พวกมันมีรสชาติที่อร่อย ตัวใหญ่ เนื้อแน่น สามารถทำได้หลากหลายเมนู ทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการที่ดี นอกจากจะเป็นวัตถุดิบที่มีการซื้อขายในประเทศที่ค่อนข้างสูงแล้ว ยังจัดเป็นสินค้าส่งออกที่สามารถสร้างรายได้ในอันดับต้น ๆ ของประเทศอีกด้วย

กุ้งแม่น้ำเป็นกุ้งน้ำจืดที่ลักษณะภายนอกจะใหญ่กว่ากุ้งในทะเล หัวชิดติดกับหน้าอก และบริเวณหัวจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวอย่างชัดเจน ลำตัวอ้วนกลม เปลือกหุ้มลำตัวมีความแข็ง มีขาคู่หน้าที่สามารถใช้ในการเดินบนพื้นได้ และยังมีก้ามขนาดใหญ่ยื่นยาวออกมาสำหรับการใช้หนีบอีกด้วย

เปลือกตามลำตัวของกุ้งแม่น้ำมักเป็นสีออกเหลือง ๆ ใส ๆ บริเวณลำตัวจะมีแถบสีน้ำเงินเข้มไปจนถึงสีดำพาดผ่านเป็นแนวขวาง ส่วนหางจะเป็นสีน้ำเงินเหมือนกับก้าม มีหนวดเป็นสีส้มใส ๆ มีหลากหลายชื่อเรียกแล้วแต่พื้นที่ เช่น กุ้งนาง กุ้งใหญ่ หรือกุ้งหลวง

เราสามารถพบกุ้งแม่น้ำได้ตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นในแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง แต่สิ่งสำคัญคือ บริเวณนั้นจะต้องเชื่อมต่อกับแหล่งน้ำเค็มด้วย กองเพาะพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่งได้เปิดเผยข้อมูลว่า พวกมันมักจะอพยพไปยังบริเวณแหล่งน้ำกร่อยเพื่อทำการผสมพันธุ์และวางไข่ จากนั้นก็จะทำการเลี้ยงตัวอ่อนจนกว่าจะโต แล้วจึงเดินทางกลับมาใช้ชีวิตในแหล่งน้ำจืดเหมือนเดิม

รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งแม่น้ำ หนทางสร้างรายได้ของเกษตรกร

กุ้งแม่น้ำ

กุ้งแม่น้ำเป็นสัตว์น้ำจืดที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงเพื่อสร้างรายได้เป็นอย่างมาก เนื่องจากประเทศไทยนิยมรับประทานพวกมัน นอกจากนี้ยังสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้ด้วย ทั้งยังเป็นอาหารที่มีราคาแพง สำหรับใครที่อยากลองทำฟาร์มกุ้งดู เราจะพาทุกคนไปดูกันว่ามีเรื่องอะไรที่คุณควรรู้บ้าง

สถานที่และแหล่งน้ำ

กุ้งแม่น้ำเป็นสัตว์ที่หากเราพิจารณาบริเวณที่เลี้ยงให้มีความใกล้เคียงกับธรรมชาติได้ ก็จะช่วยลดต้นทุนได้มากขึ้น เพราะฉะนั้นเราจึงต้องเลือกบริเวณที่จะขุดบ่อเลี้ยงให้ดี พื้นที่บริเวณนั้นควรเป็นดินร่วนหรือดินเหนียวเพื่อป้องกันไม่ให้บ่อพัง ที่สำคัญคือดินต้องไม่เปรี้ยวเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมีสภาพเป็นกรด ส่วนคุณภาพของน้ำที่ต้องใส่ใจมีดังนี้

  • ความเป็นกรดด่าง เป็นค่าที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเป็นประจำทุกวัน แต่ค่าความเป็นกรดด่างที่เหมาะสมที่สุดจะอยู่ที่ประมาณ 7-9 หากค่าความเป็นกรดด่างเกินกว่านี้หรือต่ำกว่านี้ ควรเปลี่ยนน้ำในบ่อโดยเร็ว
  • ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ จากข้อมูลโดยโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังระบุว่า ระดับออกซิเจนที่ต่ำสุดสำหรับกุ้งแม่น้ำจะอยู่ที่ 0.90 ppm การเลี้ยงพวกมันจึงต้องรักษาค่าออกซิเจนให้มีปริมาณสูงกว่าให้ได้ ต้องระมัดระวังการแย่งออกซิเจนในน้ำ ไม่ว่าจะจากสัตว์ตัวเล็ก ๆ หรือสารอินทรีย์สะสม หากใช้เครื่องตีน้ำก็จะช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนได้มากขึ้น
  • อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและช่วยให้กุ้งแม่น้ำมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงอยู่ที่ 25 องศาเซลเซียสขึ้นไป และต้องไม่สูงเกินกว่า 30 องศาเซลเซียส
  • สีและขี้แดด สีของน้ำที่ดีจะต้องเป็นสีเขียวอมน้ำตาล เพราะหากน้ำใสแจ๋วก็จะหมายความว่า ในน้ำมีแร่ธาตุไม่เพียงพอ ส่วนขี้แดดหรือพืชน้ำที่สามารถเจริญเติบโตได้ดี คือตัวการที่ทำให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง ทำให้เราต้องหมั่นทำความสะอาดและเก็บพืชเหล่านี้ขึ้นมาอยู่เสมอ

อาหารของลูกกุ้งและกุ้งโตเต็มวัย

กุ้งแม่น้ำ

ใครที่รับลูกกุ้งแม่น้ำมาเลี้ยงหรือเพาะพันธุ์ลูกกุ้งสำเร็จแล้ว ลำดับต่อมาจะเป็นการให้อาหารพวกมัน สำหรับการอนุบาลลูกกุ้งจะให้เฉพาะไรน้ำเค็มเป็นอาหารหลักเท่านั้น ประมาณ 8 วันแรก จะให้ไรน้ำเค็มพวกมันวันละ 2-4 มื้อ 

โดยต้องสังเกตพฤติกรรมการกินของอยู่ตลอดเวลา ว่าอาหารที่ให้ไปเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่ การกินสะดวกสบายมากน้อยแค่ไหน จนเมื่ออายุครบ 9 วัน ก็สามารถให้อาหารเสริมได้ โดยส่วนใหญ่ก็จะให้เป็นไข่ตุ๋นผสมกับนมผงประมาณวันละ 2-3 ครั้ง

เมื่อเข้าสู่ช่วงโตเต็มวัย เราจะสามารถแบ่งอาหารพวกมันออกเป็น 2 ชนิด ประกอบไปด้วย อาหารแบบมีชีวิตและไม่มีชีวิต อย่างเช่น ตัวอ่อนของไรน้ำ หรืออาหารสำเร็จรูป ไข่ตุ๋น เต้าหู้ไข่ สิ่งสำคัญในการพิจารณาอาหารสำหรับกุ้งแม่น้ำก็คือ 

ต้องมีสารอาหารครบถ้วน อุดมไปด้วยโปรตีนตั้งแต่ 28% ขึ้นไป ไขมันที่มีความจำเป็นในการลอกคราบ และคาร์โบไฮเดรตที่สามารถย่อยได้ง่าย ขนาดของอาหารต้องมีความเหมาะสม ไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป ที่สำคัญคือควรคงสภาพในน้ำได้นานตั้งแต่ 4 ชั่วโมงขึ้นไปด้วย

การดูแลกุ้ง

กุ้งแม่น้ำ

การเลี้ยงกุ้งสายพันธุ์นี้ตามมาตรฐาน GAP โดยกรมประมง จะแบ่งรูปแบบการเลี้ยงกุ้งออกเป็น 2 ประเภท ประกอบไปด้วย

  • กุ้งที่ผ่านการอนุบาล คือลูกกุ้งที่ถูกนำเอามาลงในบ่ออนุบาลก่อน 2 เดือน เพื่อคัดกรองกุ้งที่เจริญเติบโตได้ดีและร่างกายแข็งแรงลงไปเลี้ยงต่อในบ่อเพาะเลี้ยง อัตราการปล่อยจะอยู่ที่ไม่เกิน 10,000 ตัวต่อ 1 ไร่ จะทำให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพ ขนาดกุ้งจะค่อนข้างไล่เลี่ยกัน แต่จำเป็นต้องใช้พื้นที่เยอะและงบประมาณที่สูงขึ้น
  • กุ้งที่ไม่ผ่านการอนุบาล คือลูกกุ้งที่คว่ำตัวเรียบร้อยแล้วและถูกปล่อยลงบ่อเพาะในทันที พวกมันจะใช้เวลาในการเติบโตประมาณ 4 เดือน ถึงจะสามารถขายได้ จำนวนที่เหมาะสมจะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 50,000 ตัวต่อ 1 ไร่ เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ไม่ได้มีพื้นที่และเงินสำหรับการเพาะเลี้ยงด้วยตัวเองมากนัก

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ของเหล่าสัตว์โลกแสนรู้ได้ที่ Animalkingdom.me

บทความที่เกี่ยวข้อง

Leave a Comment