นกเอี้ยง นกมหัศจรรย์แสนฉลาด ผู้สร้างสีสันให้ท้องทุ่ง

by animalkingdom
81 views
นกเอี้ยง

ประเทศไทยมีนกท้องถิ่นอยู่หลายสายพันธุ์เลยทีเดียว และหนึ่งในสายพันธุ์ที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตคนไทยมาอย่าช้านานก็คือ นกเอี้ยง เราอาจเคยได้ยินชื่อเสียงของพวกมันเกี่ยวกับการเป็นนกเลี้ยงควาย แต่ทราบหรือไม่ว่าความจริงแล้ว พวกมันเป็นนกที่มีความเฉลียวฉลาดเป็นอย่างมาก และยังสามารถเลียนเสียงพูดมนุษย์ได้อีกด้วย วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับนกสายพันธุ์นี้ให้มากขึ้น พวกมันจะมีลักษณะเป็นอย่างไรและมีเรื่องราวอะไรที่น่าสนใจบ้าง ไปติดตามพร้อมกันได้เลย

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่

ทำความรู้จักนกเอี้ยง นกที่มีดีมากกว่าแค่การเลี้ยงควาย

นกเอี้ยง

นกเอี้ยง เป็นนกที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่ในประเทศอินเดีย เมียนมาร์ อัฟกานิสถาน รวมไปถึงภูมิภาคอินโดจีน สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ในทุกภูมิภาค และบางส่วนเป็นสายพันธุ์ที่ถูกนำเข้ามา ไม่ใช่นกท้องถิ่นของประเทศไทยเรา ขนาดตัวจะจัดอยู่ในกลุ่มของนกขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง มีลักษณะโดดเด่นเป็นขนสีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีดำ บริเวณจะงอยปากเป็นสีเหลืองอมส้มเช่นเดียวกับขอบตาและขาของพวกมัน

นกเล็กอย่างนกเอี้ยงจะผสมพันธุ์ด้วยการจับคู่แบบผัวเดียวเมียเดียว เมื่อจับคู่แล้วจะไม่มีการเปลี่ยนคู่ไปตลอดชีวิต ถือเป็นนกที่รักเดียวใจเดียวเป็นอย่างมาก พวกมันจะผสมพันธุ์กันในช่วงฤดูร้อนและฤดูใบไม้ผลิ ตัวผู้จะจีบตัวเมียด้วยการร้องเพลง กระโดดไปมา กระดกหาง หรือโชว์ขนสวย ๆ ของตัวเอง หากตัวเมียสนใจก็จะร้องเพลงตอบกลับตัวผู้และจับคู่กัน

รวมสายพันธุ์นกเอี้ยงที่สามารถพบได้ในประเทศไทย

นกเอี้ยง

สายพันธุ์นกเอี้ยงที่พบได้ในประเทศไทยนั้น ไม่ได้จำกัดแต่เฉพาะนกท้องถิ่น แต่ยังรวมไปถึงนกพลัดหลงและนกอพยพด้วย ซึ่งทุกสายพันธุ์ล้วนแล้วแต่เป็นสัตว์คุ้มครองทั้งสิ้น ประกอบไปด้วย

  • สายพันธุ์ดำปักษ์ใต้ 
  • สายพันธุ์หัวสีทอง 
  • สายพันธุ์ดำหรือนกขุนทอง 
  • สายพันธุ์หงอน 
  • สายพันธุ์ควาย 
  • สายพันธุ์ก้นลาย 
  • สายพันธุ์สาริกา 
  • สายพันธุ์ด่าง 
  • สายพันธุ์พราหมณ์
นกเอี้ยง

นอกจากนี้ยังมีนกกิ้งโครงซึ่งถูกจัดให้เป็นนกในกลุ่มเดียวกันอีกด้วย พวกมันเป็นนกวงศ์เกาะคอน กลุ่มนกร้องเพลงเหมือนกัน ลักษณะภายนอกจะมีความใกล้เคียงกันเป็นอย่างมาก ในประเทศไทยประกอบไปด้วย

  1. สายพันธุ์ปีกลายจุด
  2. สายพันธุ์หัวศรีนวล
  3. สายพันธุ์คอดำ
  4. สายพันธุ์แกลบหลังม่วงดำ
  5. สายพันธุ์แกลบแก้มสีน้ำตาลแดง
  6. สายพันธุ์แกลบปีกขาว
  7. สายพันธุ์แกลบหัวเทา 
  8. สายพันธุ์สีกุหลาบ 
  9. สายพันธุ์แก้มขาว 
  10. สายพันธุ์ยุโรป 

พฤติกรรมการกินและความเป็นอยู่

เห็นเป็นนกขนาดเล็กแบบนี้ แต่นกเอี้ยงก็เป็นสัตว์นักล่ากับเขาด้วยเช่นกัน เพราะนกสายพันธุ์นี้สามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ ถึงจะมีปีกแต่พวกมันก็หากินอยู่บนพื้นดิน บางครั้งก็อยู่ตามกองขยะหรือบนต้นไม้ แล้วแต่ว่าบริเวณที่พวกมันอยู่อาศัยเป็นบริเวณป่าหรือใกล้กับเขตชุมชน วิธีการหากินคือ จะใช้ขาที่แข็งแรงและปากคุ้ยหาอาหารไปทั่ว

โดยปกติแล้วมักจะอาศัยอยู่รวมตัวกันเป็นฝูงและส่งเสียงร้องดังเจื้อยแจ้วไปมา ในอดีตสามารถพบนกเอี้ยงได้ทั่วไปตามท้องทุ่งและมักจะเกาะอยู่บนหลังควาย จนกลายมาเป็นสำนวนที่ว่า นกเอี้ยงเลี้ยงควายเฒ่า นั้นเอง 

ในความเป็นจริงนั้น นกเอี้ยงเป็นนกที่มีประโยชน์ต่อการเกษตรไม่น้อย เพราะเป็นสัตว์ที่สามารถกระจายเมล็ดพืชได้ดี ช่วยกำจัดศัตรูพืช และยังสามารถขับไล่นกสายพันธุ์อื่น ที่รบกวนผลผลิตในการทำการเกษตรได้อีกด้วย 

นกเอี้ยง นกที่ฉลาดหลักแหลมจนคนไทยนิยมเลี้ยงเป็นคู่หู

นกเอี้ยง

ความน่ารักและความเฉลียวฉลาดของนกเอี้ยง ทำให้หลายคนตกหลุมรักและอยากจะเลี้ยงไว้เป็นคู่หู แต่ความจริงแล้วพวกมันจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่คุณไม่สามารถเลี้ยงได้แต่อย่างใด เราจึงไม่แนะนำให้คุณซื้อขายหรือนำพวกมันมาเลี้ยง แต่คุณจะสามารถสัมผัสกับความน่ารักของพวกมันได้ หากพวกมันตกจากรัง คุณสามารถช่วยเหลือพวกมันได้ด้วยการดูแลและส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ 

แต่สำหรับใครที่อยากเลี้ยงนกเอี้ยงแบบไม่ผิดกฎหมาย ความจริงแล้วคุณก็สามารถตีสนิทกับพวกมันได้ อาจจะไม่ใช่การเลี้ยงเหมือนกับสัตว์เลี้ยงธรรมดาทั่วไป เพราะคุณไม่สามารถครอบครองหรือกักขังได้ หากพวกมันยินดีที่จะสนิทสนมกับพวกคุณ พวกมันก็จะบินมาบ้านคุณบ่อย ๆ และเปิดโอกาสให้คุณฝึกพวกมันนั่นเอง

พวกมันถือเป็นสัตว์กินเนื้อ หากคุณอยากดูแลพวกมันก็สามารถจีบพวกมันได้ด้วยการวางอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนให้พวกมันบินเข้ามากินเอง แต่เราไม่ค่อยแนะนำสักเท่าไหร่ เพราะมันจะเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมสัตว์ตามธรรมชาติ ที่อาจจะส่งผลกระทบตามมาในภายหลังได้ 

นกสายพันธุ์นี้เป็นสัตว์ที่มีความฉลาดหลักแหลมเป็นอย่างมาก สามารถฝึกได้หลายคำสั่ง มันจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมคนส่วนใหญ่จึงเริ่มหันมาเลี้ยงกันมากขึ้น แต่จำเป็นต้องเลี้ยงแบบบินอิสระปล่อยให้ไปไหนมาไหนได้ เพราะตามกฎหมายแล้วคุณไม่สามารถครอบครองพวกมันได้นั่นเอง

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ของเหล่าสัตว์โลกแสนรู้ได้ที่ Animalkingdom.me

บทความที่เกี่ยวข้อง

Leave a Comment