นกแขกเต้า เป็นนกที่มีสีสันสวยงามและเสียงร้องเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งสามารถพบได้ทั่วไปตามป่าชายเลนและป่าเบญจพรรณในภาคใต้ของประเทศไทย บทความนี้จะพาคุณไปรู้จักกับนกแขกเต้าให้มากขึ้น ทั้งในด้านลักษณะพฤติกรรมและบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ รวมถึงวิธีการขออนุญาตเพาะพันธุ์นกแขกเต้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่
เบื้องหลังเสน่ห์ที่น่าหลงใหล ทำความรู้จักกับนกแขกเต้าให้มากกว่าที่เคย
นกแขกเต้า เป็นสัตว์ปีกขนาดตัวไม่ใหญ่มากนัก สามารถพบได้ทั่วไปตามป่าชายเลนและป่าเบญจพรรณ ในประเทศไทยส่วนใหญ่มักพบในบริเวณภาคใต้ พวกมันมีเสียงร้องที่ค่อนข้างสูงและลักษณะคล้ายกับการพูดคุยของมนุษย์ จึงค่อนข้างได้รับความนิยมในฐานะสัตว์เลี้ยงไม่น้อยเลยทีเดียว
หากคุณมีโอกาสได้เข้าไปอยู่ตามป่าชายเลนหรือป่าเบญจพรรณแล้วได้ยินเสียงนกร้องเพราะ ๆ ก็มีโอกาสเป็นไปได้ว่า จะเป็นเสี่ยงของนกแขกเต้า ให้ลองสังเกตดูว่านกตัวนั้นมีขนสีอะไร เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว พวกมันมักมีขนตามลำตัวเป็นสีเขียวอมเหลือง
ส่วนคอไปจนถึงหน้าท้องจะเป็นขนสีแดงอมส้มอ่อน ๆ บริเวณคางจะเป็นขนสีดำ ส่วนหัวจะเป็นสีเขียวและสีเทา มีคาดสีดำบริเวณดวงตา แต่สีก็อาจแตกต่างกันออกไปได้ตามแต่ละสายพันธุ์เช่นกัน
นกแขกเต้ามีความยาวลำตัวประมาณ 35 เซนติเมตร ลักษณะที่โดดเด่นคือ ขอบล่างของจะงอยปากบริเวณกึ่งกลางจะมีปุ่มที่ใช้ในการกะเทาะเปลือกเมล็ดพืช ปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ชนิดย่อย พบเจอได้ทั้งในบาหลี หมู่เกาะชวา อินโดนีเซีย เชิงเขาหิมาลัยในประเทศอินเดีย ประเทศเนปาล พม่า บังกลาเทศ หมู่เกาะไห่หนานหรือทางตอนใต้ของประเทศจีน รวมถึงในประเทศไทยของเรา
พฤติกรรมที่น่าสนใจของนกแขกเต้า
นกแขกเต้าเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศเป็นอย่างมาก เพราะพวกมันคือสัตว์กินพืชที่สามารถกระจายเมล็ดพืชได้เป็นอย่างดี หลังจากกินผักผลไม้หรือเมล็ดพืชแล้ว เมล็ดพืชจะไม่ถูกย่อยสลายแต่อย่างใด พวกมันจะเอาเมล็ดเหล่านี้ไปวางไว้ตามที่ต่าง ๆ และมีโอกาสที่จะงอกขึ้นมากลายเป็นต้นไม้ต้นใหม่ได้
นอกจากนี้พวกมันยังกินแมลงศัตรูพืชเป็นอาหาร ช่วยควบคุมประชากรแมลงไม่ให้มากจนเกินไป นกแขกเต้าจึงเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์และระบบนิเวศที่สงบเรียบร้อยนั่นเอง
เราจะสามารถพบเห็นนกแขกเต้าอยู่รวมกันเป็นฝูง หรือบางทีก็อยู่กันเป็นคู่ ในช่วงกลางคืนมักทำกิจกรรมต่าง ๆ ในการพักผ่อนหรือสันทนาการ ออกหากินในตอนกลางวัน
นกในแต่ละพื้นที่จะมีพฤติกรรมการผสมพันธุ์ที่แตกต่างกันออกไป เนื่องจากอุณหภูมิและสภาพทางภูมิศาสตร์แตกต่างกัน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วก็จะเริ่มในช่วงฤดูหนาวไปจนถึงฤดูร้อน เมื่อจับคู่แล้วพวกมันก็จะแยกตัวออกมาจากฝูงเพื่อทำรังแล้วช่วยกันเลี้ยงลูก
นกแขกเต้า สัตว์คุ้มครองที่สามารถขออนุญาตเพาะพันธุ์ได้
นกแขกเต้าจัดเป็นนกสวยสายพันธุ์หนึ่งที่น่ารักน่าชังเป็นอย่างมาก หลายคนคงอยากจะมีโอกาสเลี้ยงพวกมันดูสักครั้ง แต่สถานภาพทางกฎหมายในตอนนี้พวกมันจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่ไม่อนุญาตให้ครอบครอง ล่า หรือทำร้ายได้ แต่สามารถขออนุญาตเพื่อเพาะพันธุ์ได้เช่นกัน
สำหรับใครที่อยากเพาะพันธุ์หรือเพาะเลี้ยงนกแขกเต้า จำเป็นที่จะต้องขออนุญาตโดยมีหลักฐานการได้มาหรือการครอบครอง ระบุข้อมูลชัดเจนว่าได้นกมาจากที่ใด ซึ่งเราจะสามารถเพาะพันธุ์นกได้ก็ต่อเมื่อ เรามีการครอบครองพวกมันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ครอบครองก่อนมีกฎกระทรวงใหม่กำหนดให้พวกมันเป็นสัตว์คุ้มครอง ได้รับมาจากทางราชการจัดหาให้เพื่อเพาะพันธุ์ ได้รับมาจากผู้เลิกกิจการสวนสัตว์หรือเพาะพันธุ์ ได้มาจากการซื้อจากผู้ค้าสัตว์คุ้มครองจากการเพาะพันธุ์ หรือการนำเข้าจากต่างประเทศ
ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ได้หมายความว่า หากคุณอยากเลี้ยงนกแขกเต้าก็สามารถเลี้ยงได้เลย แต่ต้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการครอบครองหรือแม้แต่การเพาะพันธุ์เองก็ตาม เพราะความสวยงามของพวกมันก็เป็นดาบสองคมสำหรับสายพันธุ์เช่นกัน มีคนมากมายอยากเลี้ยงพวกมัน แต่มันก็อาจจะส่งผลกระทบต่อสถานภาพการสูญพันธุ์และระบบนิเวศภายในป่าได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ของเหล่าสัตว์โลกแสนรู้ได้ที่ Animalkingdom.me