สวัสดีค่ะ วันนี้ Animal kingdom จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ “เสือดาว” สัตว์ป่าที่หลายคนคงจะรู้จักและเคยเห็นกันบ่อย ๆ ในหน้าจอโทรทัศน์ ซึ่งทำให้หลายคนรู้จักรูปร่างหน้าตาของสัตว์ป่าชนิดนี้กันอยู่แล้ว แต่กับอีกหลายคนที่ยังไม่รู้จักกับสัตว์ป่าชนิดนี้ Animal kingdom จะพาทุกคนไปทำความรู้พวกมันกันค่ะ ไปติดตามกันได้เลย
ข้อมูลทั่วไปของเสือดาว
พวกมันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์ของแมวและเสือ เป็นเสือที่มีขนาดตัวที่ใหญ่รองจากเสือโคร่ง แต่เมื่อเทียบกับเสือชนิดอื่น ๆ เสือดาวจะมีขนาดตัวที่ค่อนข้างสั้น สัตว์ป่าชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ที่กว้างไกลที่สุด และยังมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี โดยเชื่อกันว่าสัตว์ป่าชนิดนี้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 500,000 ปีที่ผ่านมา ที่ทวีปแอฟริกา ก่อนที่จะมีการกระจายพันธุ์ไปยังทวีปเอเชีย
เขตกระจายพันธุ์
พวกมันจะกระจายพันธุ์อยู่โดยทั่วไปในทวีปแอฟริกาใต้ รวมไปถึงบางส่วนของทางเอเชียกลางและเอเชียตะวันตก เอเชียใต้ ไปถึงเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทางกายภาพ
สัตว์ป่าชนิดนี้มีลำตัวสีเหลืองหรือน้ำตาลอมเหลือง และมีลายจุดสีดำตลอดทั้งตัวเรียกว่า “ลายขยุ้มตีนหมา” ซึ่งลายจุดตามลำตัวจะเรียงตัวกันอย่างแน่นหนา ส่วนในบางจุดจะเรียงตัวกันเป็นกลุ่ม ๆ ส่วนมากการเรียงตัวเป็นกลุ่มจะพบได้ที่ส่วนด้านหลังและด้านข้างลำตัว แตกต่างจากส่วนหัว เท้า ขา บริเวณใต้ท้องจะมีจุดสีดำแบบเช่นเดียวกันกับขนใต้ท้องที่มีสีขาวหรือเทา ขนาดความยาวตั้งแต่หัวถึงลำตัวจะยาว 107-129 เซนติเมตร ส่วนหางจะยาว 79-99 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัวประมาณ 45-65 เซนติเมตร เสือดาวและเสือดำ จัดว่าเป็นเสือชนิดเดียวกัน แต่ซึ่งส่วนมากมักเข้าใจผิดว่า พวกมันเป็นเสือคนละชนิดกัน ในการผสมพันธุ์ของพวกมัน ลูกเสือที่เกิดใหม่ในคอกเดียวกัน อาจมีลูกเสือได้ทั้งสองชนิด โดยเสือดำถูกปกคลุมไปด้วยขนสีดำทั่วลำตัว ซึ่งพวกมันก็มีลายจุดเช่นเดียวกัน เพียงแต่จะมีลักษณะกลมกลืนไปกับสีขน ทำให้มองเห็นได้ไม่ชัด
สถานภาพปัจจุบัน
พวกมันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและการคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ของประเทศไทย ซึ่งสัตว์ป่าชนิดนี้มักถูกมนุษย์คุกคามและล่าเอาหนังไปทำเครื่องประดับและเครื่องแต่งกายต่าง ๆ เนื่องจากหนังมีลวดลายที่สวยงามมาก ในพิธีกรรมของชนพื้นเมืองในแอฟริกา มีการล่าเอาหนังรวมไปถึงอวัยวะและเนื้อส่วนต่าง ๆ เพื่อการนำมาบริโภคตามความเชื่อ อีกทั้งยังถูกฆ่าด้วยเหตุผลเพื่อการป้องกันการจู่โจมเข้าใส่ปศุสัตว์หรือสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น ๆ ของมนุษย์ และป่าที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพวกมันยังถูกแผ้วถางทำลายอีกด้วย จึงเป็นสาเหตุให้พวกมันเหลืออยู่น้อยมากในปัจจุบัน