จิ้งหรีด สัตว์จำพวกแมลงที่ถือกำเนิดมาก่อนใครบนโลก

by animalkingdom
212 views
จิ้งหรีด

ประเทศไทยของเราอยู่ในเขตร้อนชื้น ตามบ้านเรือนจึงสามารถพบเห็นแมลงได้เป็นจำนวนมาก และมีด้วยกันหลายสายพันธุ์ หนึ่งในสายพันธุ์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดก็คือ จิ้งหรีด พวกเขามีอยู่มากมายทั่วทุกพื้นที่ในประเทศไทย แถมเรายังสามารถบริโภคพวกเขาเป็นแหล่งโปรตีนเสริมได้อีกด้วย วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับแมลงที่มีเสียงเป็นเอกลักษณ์ชนิดนี้กัน พวกเขาจะมีความเป็นมาอย่างไร และมีอะไรที่น่าสนใจบ้าง ไปติดตามกันได้เลย

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่ 

ทำความรู้จักกับจิ้งหรีด จากแมลงตัวร้ายของเกษตรกรสู่สัตว์สร้างรายของคนไทย 

จิ้งหรีด

จิ้งหรีด หนึ่งในสายพันธุ์สัตว์ที่ถือกำเนิดขึ้นมาก่อนใครบนโลก อยู่มาอย่างยาวนานร่วมล้านล้านปี ที่มาพร้อมความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม สามารถขยายสายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งความสามารถเหล่านี้ติดตัวเหล่าจิ้งหรีดมาจนถึงในยุคปัจจุบัน 

จิ้งหรีด เป็นสัตว์ที่เราสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย จะเลี้ยงพวกเขาเป็นอาหารสัตว์ก็ได้ มนุษย์ก็ยังสามารถกินได้ แถมยังเป็นแมลงตัวเบียนหรือตัวห้ำที่คอยกำจัดศัตรูพืชได้อีกด้วย ขนาดตัวของพวกเขาค่อนข้างใหญ่โตเลยทีเดียว 

หากมองแบบผิวเผินจิ้งหรีดก็มีความคล้ายคลึงกับแมลงสาบเป็นอย่างมาก คนที่ไม่ชอบแมลงสาบก็คงจะรู้สึกไม่ค่อยถูกชะตากับพวกเขาสักเท่าไหร่ พวกเขามีปากที่สามารถกัดได้ด้วยกามอันทรงพลัง มีขาคู่หลังที่ทั้งแข็งแรงและมีขนาดใหญ่ การเคลื่อนที่ไปมาของจิ้งหรีดนั้น มักจะใช้วิธีการกระโดด 

พวกเขามักอาศัยอยู่ทั่วไปทั้งในสนามหญ้า ทุ่งนา รอยแตกตามพื้นดิน ในกองเศษหญ้า หรือในพื้นปูน จิ้งหรีดมีหนวด 1 คู่ที่ยื่นยาวออกมาอย่างชัดเจน ตัวเมียจะปีกเรียวและมาพร้อมกับอวัยวะสำหรับวางไข่ที่ยาวเหมือนเข็มยื่นออกมาจากท้อง ส่วนตัวผู้ปีกหน้าจะย่นทำให้สามารถส่งเสียงได้ 

จิ้งหรีด

พวกเขาจัดเป็นสัตว์อีกหนึ่งสายพันธุ์ที่ในอดีตสามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว วงจรชีวิตของจิ้งหรีดจะเริ่มต้นจากการเป็นไข่ ใช้เวลาประมาณ 10 วัน ก็จะฟักออกมาเป็นตัวอ่อน ในช่วงนี้ลักษณะของพวกเขาจะดูใกล้เคียงกับมดหรือแมลงสาบสีทองตัวเล็ก ๆ ลำตัวเรียวยาวคล้ายกับข้าวสาร 

อวัยวะภายนอกมีอย่างครบถ้วนเหมือนกับจิ้งหรีดตัวโตเต็มวัย แต่สีตัวจะยังดูใส ๆ บอบบาง และยังไม่มีปีก ใช้เวลาประมาณ 50 วัน จึงจะลอกคราบและกลายเป็นตัวโตเต็มวัย และต้องผ่านการลอกคราบถึง 8 ครั้งเลยทีเดียว พวกเขาจึงจะมีอวัยวะครบถ้วนทั้งเพศผู้และเพศเมีย และมีอายุต่อไปอีกประมาณ 45 – 50 วัน               

ความแตกต่างกันของจิ้งหรีดแต่ละประเภทที่พบในประเทศไทย 

จิ้งหรีด

จิ้งหรีดจัดเป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกสายพันธุ์หนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ได้อย่างมหาศาลเลยทีเดียว สามารถเป็นอาหารแปลกให้กับมนุษย์ได้ และในอนาคตพวกเขายังจะเป็นแหล่งโปรตีนใหม่อีกด้วย โชคดีที่ในประเทศไทยเรามีพวกเขาอยู่หลากหลายสายพันธุ์เลยทีเดียว ซึ่งจะมีสายพันธุ์ไหนบ้าง ไปดูกันเลย

  1. ทองดำ หากมองจากภายนอกจะดูเหมือนกับแมลงสาบสีดำแทบไม่มีผิดเพี้ยน ความยาวลำตัวประมาณ 3 เซนติเมตร ความกว้าง 0.7 เซนติเมตร ลำตัวสีดำ มีขีดคาดบริเวณจุดเริ่มต้นของปีกเป็นสีทองอำพัน
  2. ทองแดง คล้ายกับแมลงสาบสีน้ำตาล ตัวผู้จะมีสีลำตัวเข้มกว่าตัวเมีย หัวกลมมนและเป็นมันเงา โคนขาเป็นสีน้ำตาลทองอ่อนกว่าที่อื่น แถมยังมีขนาดใหญ่จนเตะตา สามารถกระโดดได้อย่างรวดเร็ว ว่องไวสุด ๆ
  3. ทองแดงลาย เป็นสายพันธุ์ที่พบได้บ่อย ขนาดตัวเล็กที่สุดจากทุกสายพันธุ์ ลำตัวเป็นสีน้ำตาลอ่อน บนหัวมีแถบคาดสีดำ
  4. จิ้งโกร่ง ขนาดตัวใหญ่โตที่สุด สามารถยาวได้ถึง 3.5 เซนติเมตรเลยทีเดียว มักอยู่ในดินมากกว่าบนต้นไม้ สามารถขุดดินได้เป็นอย่างดี มักจะอพยพย้ายที่อยู่อาศัยอยู่เสมอ

รู้หรือไม่ จิ้งหรีดมีภาษาที่ใช้สื่อสารกันด้วยปีก

จิ้งหรีด

จิ้งหรีด เป็นแมลงประเภทหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าพวกเขาไม่สามารถเปล่งเสียงร้องออกมาเพื่อสื่อสารได้เหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หรือสัตว์น้ำที่ใช้คลื่นความถี่ในการสื่อสาร แต่ถึงอย่างนั้น เข้าสู่ช่วงฤดูร้อนทีไรเราก็มักจะได้ยินเสียงของพวกเขา ร้องระงมทั้งในตอนกลางวันและกลางคืนอยู่เสมอ 

นั่นก็เป็นเพราะว่า พวกเขามีภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกันโดยเฉพาะ จิ้งหรีดที่สามารถส่งเสียงออกมาได้จะมีเฉพาะตัวผู้เท่านั้น และไม่ได้เปล่งเสียงออกมาจากลำคอแต่อย่างใด 

วิธีการส่งเสียงของพวกเขา จะใช้ปีกคู่หน้าสีกันอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นเสียงดังกริ๊ก เหมือนกับที่เราได้ยินกัน เวลาปกติที่พวกเขาเกาะอยู่ตามต้นไม้ ปีกของพวกเขาจะซ้อนกันขึ้นมาเหนือลำตัว พวกเขาสามารถใช้ปีกคู่หน้าด้านขวาทับกับด้านซ้ายเอาไว้ 

ส่วนจิ้งหรีดตัวเมียก็จะใช้ปีกด้านซ้ายทับบนปีกขวา เมื่อนำเอาปีกคู่หน้ายกขึ้นแล้วใช้ขอบปีกถูกันกับซี่ฟันขนาดเล็กที่เรียงกันเป็นแถวบริเวณโคนด้านในปีกอีกฝั่ง ประกอบกับการโยกตัว ก็จะกลายเป็นภาษาที่สามารถสื่อสารได้หลากหลายความหมายเลยทีเดียว ประกอบไปด้วย

  1. เสียงกริ๊ก ๆ ดังติดต่อกันนาน ๆ เป็นการบอกกับตัวอื่นว่า ตอนนี้กำลังอยู่คนเดียวโดดเดี่ยวเหงาใจ ต้องการหาคู่ครองสักตัวหนึ่ง 
  2. เสียงกรี๊ด ๆ ดังแบบลากยาว เป็นการประกาศถึงอาณาเขตที่อยู่อาศัยของตนเอง 
  3. เสียงกริ๊ก ๆ เบา ๆ ดังขึ้นมาแบบถี่ ๆ เป็นการประกาศว่าต้องการผสมพันธุ์ ตัวผู้จะส่งเสียงไปด้วย และถอยหลังเข้าหาตัวเมียไปด้วย หากตัวเมียสมยอมก็จะขึ้นคร่อมตัวผู้เพื่อผสมพันธุ์ 
  4. เสียงกริ๊ก ๆ ดังยาว 2-3 ครั้ง เป็นการแสดงอารมณ์โกรธหรือการส่งเสียงขณะที่กำลังต่อสู้กัน มีทั้งตัวผู้สู้กันเองเพื่อแย่งตัวเมีย หรือตัวเมียกับตัวผู้ทะเลาะกันเพราะตัวเมียไม่ยอมผสมพันธุ์ 

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ เกี่ยวกับสัตว์โลกแสนรู้ได้ที่ Animalkingdom.me

บทความที่เกี่ยวข้อง

Leave a Comment