นกกระเรียน ความสง่างามแห่งท้องทุ่ง ผู้ผดุงความสมดุลของระบบนิเวศ

by animalkingdom
695 views
นกกระเรียน

นกหลากหลายสายพันธุ์มีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ แต่มีอยู่สายพันธุ์หนึ่งที่เปรียบเสมือนกับสัญลักษณ์แห่งความหวัง นั่นก็คือนกกระเรียน แต่ถ้าหากพูดถึงในฐานะของสัตว์สายพันธุ์หนึ่ง พวกมันถือว่ามีความสำคัญต่อระบบนิเวศเป็นอย่างมาก และที่น่าตกใจคือครั้งหนึ่งประเทศไทยเคยต้องสูญเสียพวกมันไปแล้ว วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับนกสายพันธุ์นี้ให้มากขึ้น

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่

ทำความรู้จักกับนกกระเรียน นกที่เป็นมากกว่าสัญลักษณ์แห่งความหวัง

นกกระเรียน

นกกระเรียน สัตว์ปีกที่มีลักษณะใกล้เคียงกับนกกระสา สามารถพบได้ทั่วไปในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นเฉพาะในทวีปอเมริกาใต้และแอนตาร์กติกาเท่านั้น แต่หลัก ๆ แล้วพวกมันจะอาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกาและเอเชียเป็นหลัก และพบในทวีปเอเชียถึง 10 ชนิด กระจายตัวตั้งแต่ในเอเชียกลาง เอเชียตะวันออก ไปจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่ฝั่งแอฟริกาจะมีอยู่เพียง 5 ชนิดเท่านั้น โดยส่วนใหญ่นกพันธุ์นี้ไม่ค่อยถูกคุกคามเท่าไหร่ แต่ก็มีบางสายพันธุ์ที่ถูกคุกคามอย่างหนักจนมีสถานการณ์เข้าขั้นวิกฤตอย่างสายพันธุ์กู่เช่นกัน

นกกระเรียนเป็นนกใหญ่ที่มาพร้อมกับลำตัวที่สูง ขาเรียวยาว คอยาว จะงอยปากยาวเล็กแหลม ตามลำตัวมักถูกปกคลุมไปด้วยขนสีขาว บางสายพันธุ์อาจมีแต้มหรือลวดลายแตกต่างกันออกไป อาหารที่กินส่วนใหญ่จะเป็นพืช ใบไม้ ผลไม้ และเมล็ดพืช ในขณะเดียวกันพวกมันก็สามารถกินสัตว์ตัวเล็ก ๆ อย่างสัตว์สะเทินน้ำสะเทือนบก แมลง หรือปลาได้เช่นกัน บางครั้งเราจึงมีโอกาสได้เห็นพวกมันอยู่ตามท้องทุ่งนาเพื่อจับปลาหรือกินเมล็ดข้าวนั่นเอง

นกกระเรียน

นกกระเรียนจัดเป็นนกอพยพ เมื่อถึงเวลาพวกมันก็จะบินพากันอพยพย้ายถิ่นเป็นฝูงใหญ่ โดยในช่วงฤดูหนาวจะอพยพไปหากินในบริเวณเขตหนาวแทน ด้วยเหตุนี้ พวกมันจึงเริ่มผสมพันธุ์กันในช่วงฤดูฝน ตัวผู้ตัวเมียจะจับคู่และช่วยกันสร้างรัง จากนั้นวางไข่ประมาณครั้งละ 2-4 ฟอง เสร็จแล้วก็จะช่วยกันเลี้ยงลูกจนกว่าจะเติบโต

การส่งเสียงร้องและการแสดงท่าทางของนกกระเรียนนั้นค่อนข้างสลับซับซ้อน โดยเฉพาะเวลาจีบกันพวกมันจะทั้งร้องและเต้นไปในเวลาเดียวกัน หลายคนมักเข้าใจผิดว่าพวกมันเป็นนกผัวเดียวเมียเดียวไปจนวันตาย แต่มีการค้นพบว่าพวกมันมักมีการเปลี่ยนคู่ตลอดช่วงชีวิต ไม่ได้จับคู่กับตัวไหนแล้วก็อยู่กับตัวนั้นไปตลอดอย่างที่หลายคนเข้าใจแต่อย่างใด

รวมสายพันธุ์นกกระเรียนที่สามารถพบได้ในประเทศไทย

นกกระเรียน

นกกระเรียนในประเทศไทยจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์หลักๆ ประกอบไปด้วย

  1. สายพันธุ์ไทย พบในบริเวณทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับในประเทศไทยจะพบได้เฉพาะในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น
  2. สายพันธุ์ขาว พบในบริเวณทวีปยูเรเซีย สำหรับในประเทศไทยจะพบได้เฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือเท่านั้น

คืนนกกระเรียนไทยสู่ธรรมชาติ ความสำเร็จในการฟื้นฟูสัตว์ที่เคยสูญพันธุ์

นกกระเรียน

หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าในประเทศไทยของเรานั้น นกกระเรียนเคยเป็นสัตว์สูญพันธุ์มาก่อน แต่ต้องขอบคุณความพยายามของเหล่านักอนุรักษ์ ที่ช่วยให้พวกมันยังคงอยู่ในธรรมชาติต่อไปได้ โดยในตอนนี้สามารถขยายจำนวนได้เองมากกว่า 100 ตัวแล้ว และกระจายอาศัยอยู่ตามธรรมชาติทั่วทุกภูมิภาค 

นกกระเรียนเป็นสัตว์ป่าที่ได้รับผลกระทบจากวิถีชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก ทำให้เมื่อ 50 ปีที่แล้ว พวกมันได้รับการระบุว่าเป็นสัตว์ที่สูญพันธุ์จากประเทศไทยไปอย่างน่าเสียดาย แต่ในปี 2525 ได้เกิดความร่วมมือกันระหว่างไทยและมูลนิธิอนุรักษ์นกสากล รวมถึงสวนสัตว์โคราช มีการขยายพันธุ์นกสายพันธุ์ดังกล่าวตามธรรมชาติและผสมเทียม จนสุดท้ายก็สามารถสร้างพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ออกมาได้ถึง 33 ตัว

โครงการคืนอดีตนกที่เคยสูญพันธุ์กลับสู่ธรรมชาติยังคงดำเนินต่อมาจนถึงทุกวันนี้ และในปี 2564 ยังมีการปล่อยนกจำนวนร่วม 10 ตัวให้กลับสู่คืนธรรมชาติอีกด้วย จากการติดตามโอกาสรอดของลูกนกพบว่า มีอัตราการรอดสูงกว่า 70% เลยทีเดียว นับว่าเป็นข่าวดีที่เราสามารถกู้อีกเผ่าพันธุ์หนึ่ง ให้ยังคงสามารถอยู่ตามธรรมชาติต่อไปได้ และเป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่ต้องร่วมมือกันอนุรักษ์และดูแลสัตว์ทุกชนิดตามธรรมชาติให้ยังคงอยู่ต่อไป

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ของเหล่าสัตว์โลกแสนรู้ได้ที่ Animalkingdom.me

บทความที่เกี่ยวข้อง

Leave a Comment