แมลง สัตว์ที่อยู่คู่กับโลกของเรามาอย่างยาวนาน และปฏิเสธไม่ได้เลยว่า แมลงมีความสำคัญกับระบบนิเวศและวิถีชีวิตของมนุษย์เราเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะแมลงกระชอน แมลงที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนไทยภาคอีสานมาอย่างช้านาน ซึ่งบรรดาแมลงที่เราสามารถพบได้ในภาคอีสานนั้น หากเทียบกับสายพันธุ์แอฟริกาแล้ว ถือว่ามีความแตกต่างกันเป็นอย่างมากเลยทีเดียว และในวันนี้ เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับพวกเขาเหล่านี้กัน ไปติดตามกันได้เลย
ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่
ทำความรู้จักกับแมลงกระชอน แมลงที่มีความสำคัญกับระบบนิเวศเป็นอย่างมาก
แมลงกระชอน เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในกลุ่มแมลง ที่สามารถพวกเห็นพวกเขาได้ทั่วไปในประเทศไทย ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นก็จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปอย่างเช่น แมงกีซอน แมงอีซอน แมงจีซอน หรือแมงจอน เป็นต้น
เมื่อดูจากภายนอกแล้ว ลักษณะทั่วไปของแมลงกระชอนจะคล้ายคลึงกับจิ้งหรีด ในอดีตอาศัยอยู่ในป่าเช่นเดียวกันกับสัตว์ทั่วไปบนโลกใบนี้ แต่หลังจากที่มนุษย์เรียนรู้การทำเกษตรกรรม พวกเขาก็เข้ามาอาศัยอยู่ตามเรือกสวนไร่นาของชาวบ้านโดยทั่วไป
สายพันธุ์ของแมลงกระชอนที่พบในเขตเกษตรกรรมของประเทศไทยมีอยู่ชนิดเดียว นั่นก็คือสายพันธุ์ Gryllotalpa Orientalis มีความยาวลำตัวเพียง 3 เซนติเมตร ลักษณะจะมีลำตัวเป็นเปลือกแข็ง ๆ สีน้ำตาล ปีกใสและบาง สามารถใช้บินได้ในระยะใกล้ประมาณ 1-2 เมตรเท่านั้น
ขาหน้ามีขนาดใหญ่และแข็งแกร่ง เอาไว้ใช้สำหรับการขุดดินโดยเฉพาะ ส่วนขาคู่อื่นจะเอาไว้ใช้ในการเดิน วิ่ง หรือแม้แต่กระโดด นอกจากนี้ยังสามารถเดินอยู่บนผิวน้ำได้อีกด้วย เสียงร้องของพวกเขายังคล้ายคลึงกับจิ้งหรีด ทำให้หลายคนสับสนระหว่างแมลงกระชอนและจิ้งหรีด
สาเหตุที่พวกเขาต้องมีขาหน้าเอาไว้ใช้แทนอุ้งมือสำหรับการขุดดิน นั่นก็เป็นเพราะว่าแมลงกระชอนมักอาศัยอยู่ตามพื้นดินมากกว่า จะขุดรังนอนเหมือนกับบ้านของตนเอง หลังจากนั้นก็จะมีขุดจากรังนอนออกไปอีกหลายทิศทาง
รังของพวกเขาจะเป็นโพรงที่มีขนาดประมาณเทียบเท่ากับไข่ไก่ ความลึกเหนือพื้นดินประมาณ 10 เซนติเมตร ตัวเมียที่ตั้งท้องก็จะวางไข่ภายในรังของตัวเองจนกว่าลูกจะฟักเป็นตัว ใช้เวลาในการฟักออกจากไข่ยาวนานได้สูงสุดถึง 40 วัน
จากนั้นก็จะกลายเป็นตัวอ่อนที่ใช้ระยะเวลาในการเติบโตกว่า 1 ปีจึงจะโตเต็มวัย ตลอดชีวิตที่ว่ามานี้พวกเขาอาศัยอยู่ใต้ดินเป็นหลัก เมื่อโตขึ้นจึงจะออกหากินบนพื้นหรือออกมาเล่นไฟเพื่อล่อตัวเมียสำหรับการผสมพันธุ์บ้างเล็กน้อย
ถึงแม้ว่าแมลงกระชอนจะเป็นสัตว์กินพืช แต่ก็สร้างผลกระทบต่อผลิตผลทางการเกษตรค่อนข้างน้อย ที่สำคัญพวกเขายังเป็นหนึ่งในแมลงที่สามารถทานได้อีกด้วย และยังมีโปรตีนสูงไม่น้อยเลยทีเดียว
วัฏจักรชีวิต
วงจรชีวิตของแมลงกระชอนจะเริ่มต้นจากการเป็นไข่ ลักษณะไข่ของพวกเขาจะเป็นแท่งที่มีประมาณ 30-50 ฟอง ใช้เวลายาวนานร่วมเดือนกว่าจะฟักออกมาเป็นตัวอ่อน ในช่วงแรกตัวอ่อนจะมีลำตัวเป็นสีขาวสนิท บริเวณขาและหน้าอกจะเป็นสีฟ้าอ่อน
เมื่อโตขึ้นก็จะกลายเป็นแมลงที่มีร่างกายสีเทาดำ เหมือนกับที่เราเห็นกันตามธรรมชาติ โดยตัวอ่อนในช่วงสุดท้ายก่อนจะกลายเป็นตัวโตเต็มวัยมีลักษณะจะเหมือนกันเป๊ะ หากไม่สังเกตที่บริเวณปีกที่มีความสั้นยาวไม่เท่ากันในแต่ละตัว เราก็แทบจะแยกตัวโตเต็มวัยกับตัวอ่อนช่วงสุดท้ายไม่ออกกันเลยทีเดียว
หน้าที่สำคัญในธรรมชาติ
ที่อยู่อาศัยของแมลงกระชอนนั้นอยู่ในพื้นดิน เพราะฉะนั้นหน้าที่หลักของพวกเขาที่ส่งผลต่อระบบนิเวศมากที่สุดก็คือ การพรวนดิน นั่นเอง ช่วยให้ดินมีโพรงอากาศ แถมยังช่วยเพิ่มปริมาณแบคทีเรียที่ช่วยย่อยสลายซากอินทรีย์ ดินที่มีพวกเขาอยู่จึงมีความอุดมสมบูรณ์และสามารถปลูกพืชได้เป็นอย่างดี
และเนื่องจากพวกเขามักจะกินซากพืชหรือรากพืชที่เน่าสลายอยู่ภายในดิน ซึ่งเป็นบริเวณที่มนุษย์ไม่สามารถจัดการได้เพราะเรามองเองไม่เห็น พวกเขาจึงเป็นแมลงที่ไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของศัตรูพืช ไม่มีความจำเป็นต้องกำจัดด้วยการใช้สารเคมีให้วุ่นวาย
ที่สำคัญพวกเขายังเป็นอาหารของปลาหลากหลายชนิดเลยทีเดียว แถมยังเป็นอาหารของมนุษย์ได้อีกด้วย แมลงกระชอนจึงถือว่ามีความสำคัญกับระบบห่วงโซ่อาหารไม่แพ้สัตว์ประเภทไหนเลยทีเดียว
ความเกี่ยวพันกันระหว่างแมลงกระชอนกับวิถีชีวิตของคนอีสาน
แมลงกระชอนเป็นแมลงที่สามารถพบได้ 2 ชนิดทั่วโลก ประกอบไปด้วยชนิดที่พบบริเวณซีกโลกตะวันออก และชนิดที่สามารถหาพบได้ในแอฟริกา ถึงจะเป็นแมลงกระชอนเหมือนกัน แต่ลักษณะภายนอกของพวกเขาค่อนข้างแตกต่างกันไม่น้อยเลยทีเดียว
สำหรับแมลงกระชอนถือว่าเป็นแมลงที่มีความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตของคนอีสานเป็นอย่างมาก เมื่อเข้าสู่ฤดูแล้ง น้ำจะเหลือเฉพาะในแหล่งน้ำขนาดใหญ่เท่านั้น และมีดินเฉพาะบริเวณใกล้แหล่งน้ำที่ยังคงพอชุ่มชื่นอยู่บ้าง บางแห่งก็จะมีโคลนตมเป็นพื้นดินนิ่ม ๆ
ชาวบ้านจะเอาจอบ เสียม ออกไปหากินในบริเวณแหล่งน้ำที่ยังคงหลงเหลืออยู่ และมีการลงไปย่ำแมลงกระชอนในบริเวณใกล้เคียงด้วย โดยการทำคันกั้นน้ำขนาดเล็กเป็นแนวยาวเพื่อกั้นไม่ให้น้ำเข้ามาในพื้นที่ที่ต้องการ จากนั้นก็จะทำการขุดดินแล้วตักน้ำราดลงบนพื้นที่ที่กั้นไว้
ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นการลงมือย่ำดินจนกว่าดินจะกลายเป็นดินโคลน หลังจากที่น้ำเข้าไปทดแทนอากาศภายในดินแล้ว แมลงกระชอนที่อาศัยอยู่ข้างโพรงใต้ดินก็จะโผล่ออกมา ชาวบ้านก็จะสามารถจับได้โดยง่าย ซึ่งถือว่าเป็นอาหารยอดนิยมของคนอีสานในช่วงหน้าแล้งเลยทีเดียว
ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ เกี่ยวกับสัตว์โลกแสนรู้ได้ที่ Animalkingdom.me