ล้วงลึกเรื่องราวของ ปลาปักเป้า ความอร่อยที่มาพร้อมกับพิษร้าย

by animalkingdom
140 views
ปลาปักเป้า

มีปลาอยู่หลายชนิดที่มีทั้งสายพันธุ์น้ำจืดและสายพันธุ์น้ำเค็ม ซึ่งปลาปักเป้าก็มีทั้งสายพันธุ์น้ำจืดและน้ำเค็มด้วยเช่นกัน พวกมันขึ้นชื่อในเรื่องของพิษที่มีความอันตราย แต่ก็ไม่วายกลายมาเป็นอาหารรสเลิศที่ใครหลายคนชื่นชอบ ด้วยรูปลักษณ์ที่ดูแปลกตาทำให้พวกมันดูน่าสนใจไม่น้อย วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับปลาสายพันธุ์นี้กัน พร้อมวิธีการแก้พิษเบื้องต้นเมื่อได้รับพิษเข้าไป ไปติดตามกันได้เลย

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่

ทำความรู้จักกับปลาปักเป้า น่ารัก น่ากิน และน่ากลัว

ปลาปักเป้า

ปลาปักเป้า สัตว์น้ำที่เราคุณชินกับภาพของปลาที่อ้วนกลมและมีหนามงอกออกมาตามผิวหนัง แต่ความจริงแล้วลักษณะภายนอกของพวกเขาไม่ได้แตกต่างจากปลาสายพันธุ์อื่นสักเท่าไหร่ มีเนื้อที่สามารถรับประทานได้แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม เนื่องจากมีบางส่วนที่มีพิษ หากกระบวนการทำไม่ดีและรับประทานส่วนที่มีพิษนั้นเข้าไป ก็มีโอกาสที่จะได้รับอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว

เราสามารถพบปลาปักเป้าได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยแบ่งออกได้เป็นกว่า 100 ชนิด จำนวนมากกว่าครึ่งเป็นชนิดที่มีพิษ สำหรับในประเทศไทยของเราสามารถพบได้มากกว่า 20 ชนิด สำหรับสายพันธุ์น้ำจืดที่พบได้บ่อนจะมีสายพันธุ์เขียว เหลือง บึง และทอง ส่วนสายพันธุ์ที่น้ำเค็มที่พบได้บ่อยจะมีสายพันธุ์หลังแดง หนามทุเรียนหรือดาว

ลักษณะของปลาปักเป้า

ปลาปักเป้าเป็นปลาที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ความยาวลำตัวจะอยู่ที่ประมาณ 1 ฟุตเท่านั้น ลักษณะลำตัวเวลาไม่ได้พองตัวก็จะดูกลม รี มีช่องเหงือกเล็ก ๆ และไม่มีเกล็ดตามลำตัว

สายพันธุ์น้ำจืดลักษณะตัวจะกลมและขนาดเล็กกว่าสายพันธุ์น้ำเค็ม หัวสั้น ทู่ มีดวงตากลมโตขนาดใหญ่ จมูกจะมีลักษณะเป็นท่อที่ยื่นยาวออกมาเล็กน้อย ในขณะที่สายพันธุ์น้ำเค็มจะดูโตกว่าเดิม ลักษณะลำตัวจะมีลักษณะเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย มีครีบตัวขนาดใหญ่ที่เห็นได้อย่างชัดเจน 

พฤติกรรมและลักษณะนิสัยของปลาปักเป้า 

ปลาปักเป้า

ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์น้ำจืดหรือสายพันธุ์น้ำเค็ม ปลาปักเป้าจะมีนิสัยที่ดุร้ายไม่ต่างกัน นอกจากพวกเขาจะมีหนามตามลำตัวแล้ว ยังมีฟันที่แหลมคม เนื่องจากพวกมันเป็นสายพันธุ์นักล่า ทำให้ไม่ค่อยมีศัตรูตามธรรมชาติมากนัก 

เรามักจะพบเห็นพวกมันลอยตัวอยู่ในน้ำเฉย ๆ หรือไม่ก็ว่ายน้ำไปมาช้า ๆ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า พวกมันเป็นปลาที่เชื่องช้าแต่อย่างใด เพราะเมื่อไหร่ที่ตกใจหรือมีศัตรูเข้าใกล้ มันก็จะพุ่งตัวไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็วอย่างน่าเหลือเชื่อเลยทีเดียว

เวลาขู่ ปลาปักเป้าจะใช้วิธีการสูบลมหรือน้ำเข้าท้องแล้วพองตัวให้กลมโต เมื่อรู้สึกปลอดภัยแล้วก็จะปล่อยลมหรือน้ำออกมาให้ตัวมีขนาดเท่าเดิม นอกจากนี้ยังสามารถส่งเสียงขู่ด้วยการบดฟันและขากรรไกรหรือใช้ถุงลมในการสั่นเพื่อให้เกิดเสียงได้อีกด้วย 

ฟันของพวกมันมีความแหลมคมถึงขั้นที่สามารถฉีกเนื้อให้ขาดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งแข็งแรงถึงขั้นที่สามารถกะเทาะกระดองหินปูนของปูหรือหอยได้เลย ซึ่งนั่นทำให้อาหารส่วนใหญ่ของพวกมันก็คือหอย ปู และกุ้งนั่นเอง

ปลาปักเป้า รู้ไว้ก่อนกินปลาอร่อย พิษร้าย ตายได้ถ้าเตรียมไม่ดี

ปลาปักเป้า

พิษของปลาปักเป้านั่น ช่วยให้พวกมันรอดพ้นจากอันตรายตามธรรมชาติได้ แต่ก็ไม่สามารถรอดพ้นการเป็นอาหารอันโอชะของมนุษย์ได้เช่นกัน ในประเทศญี่ปุ่นพวกมันได้รับความนิยมในฐานะอาหารเป็นอย่างมาก แต่เชฟที่จะสามารถปรุงได้ต้องมีใบรับรองว่า ผ่านการอบรมมาเป็นอย่างดีแล้วเท่านั้น 

แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังคงมีคนจำนวนมากที่เสียชีวิตจากการรับประทานเนื้อปลาชนิดนี้ สำหรับในประเทศไทยมีประกาศที่ออกโดยกระทรวงสาธารณสุข ห้ามผลิต นำเข้า จำหน่ายทั้งลักษณะที่เป็นตัว หรือแม้แต่ส่วนผสมในอาหารก็ตาม เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับพิษของพวกมันนั่นเอง

พิษของปลาปักเป้าเป็นสารที่มีชื่อว่า Tetrodotoxin หรือ TTX จัดอยู่ในกลุ่มสารอัลคาไลน์ที่ส่งผลยับยั้งระบบประสาท ส่วนใหญ่มักพบในไข่และเครื่องใน แต่ฤดูวางไข่จะพบจำนวนพิษมากเป็นพิเศษ พิษดังกล่าวเมื่อสกัดออกมาก็จะกลายเป็นผงสีขาว ที่สามารถละลายได้ทั้งในน้ำและแอลกอฮอล์ 

นอกจากนี้ยังสามารถทนความร้อนได้กว่า 220 องศาเซลเซียส ต่อให้ปรุงสุกแล้วก็ยังคงสามารถได้รับพิษเช่นเดิม แต่จะเสื่อมสภาพเมื่อนำเอาไปแช่กับด่าง

เมื่อเรารับประทานเข้าไป จะใช้เวลาในการออกฤทธิ์ประมาณครึ่งชั่วโมงถึง 1 ชั่วโมง หรือในบางคนอาจใช้เวลายาวนานถึง 4 ชั่วโมงเลยก็มี มันจะยับยั้งการทำงานของสารสื่อประสาทที่อยู่บริเวณผนังเส้นประสาทของเรา

บล็อกโซเดียมไม่ให้สามารถผ่านเข้าไปในเซลล์ประสาทได้ ทำให้เซลล์ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ กล้ามเนื้อไม่สามารถหดตัวได้จนเกิดอาการเกร็งและกลายเป็นอัมพาต จากนั้นกล้ามเนื้ออวัยวะที่สำคัญก็จะเกิดการล้มเหลวจนถึงขั้นเสียชีวิต

ในช่วงแรกของการได้รับพิษ เราจะรู้สึกชาตามริมฝีปาก ลิ้นและขากรรไกรแข็ง รู้สึกปวดหัวและอยากอาเจียน ต่อมาก็จะเริ่มมีอาการชาตามส่วนต่าง ๆ ในร่างกายจนไม่สามารถยืนตัวตรงได้ หากยังไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็จะไม่สามารถเคลื่อนไหวอวัยวะได้และกลายเป็นอัมพาต สุดท้ายเมื่อหัวใจไม่ทำงานก็จะเสียชีวิตลงในที่สุด

วิธีการบรรเทาอาการเมื่อรับประทานปลาปักเป้าที่ปรุงอย่างไม่ถูกต้อง

ปลาปักเป้า

ในปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้ในการกำจัดพิษของปลาปักเป้าได้ แต่สามารถลดพิษและช่วยบรรเทาอาการได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนถ่ายเลือด การรับประทานยาขับปัสสาวะหรือการอาเจียนออกมา รวมถึงการใช้สมุนไพรขับพิษอย่างรางจืดก็ได้เหมือนกัน แต่ทางที่ดีที่สุดเราขอแนะนำว่า ให้ไปพบแพทย์โดยด่วนเมื่อมีอาการตั้งแต่ระยะแรก เพื่อที่แพทย์จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ของบรรดาสัตว์โลกแสนรู้ได้ที่ Animalkingdom.me

บทความที่เกี่ยวข้อง

Leave a Comment