ปลากราย จากปลาเนื้อแน่นสู่เมนูอาหารรสชาติดี

by animalkingdom
110 views
ปลากราย

หนึ่งในเมนูอาหารที่หาทานได้ง่ายตามท้องตลาดทั่วไปคือ ทอดมัน ซึ่งวัตถุดิบยอดนิยมที่มักนำมาทำเมนูนี้ก็คือ ปลากราย ปลาที่มีเนื้อเป็นเอกลักษณ์ นุ่มเด้ง เหมาะสำหรับนำมานำหลากหลายเมนู นอกจากนี้ยังเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวประมงอย่างเป็นกอบเป็นกำ พวกมันจะมีความน่าสนใจขนาดไหนนอกเหนือจากการเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหาร วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับปลาสายพันธุ์นี้กัน ไปติดตามพร้อมกันได้เลย

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่

ปลากราย สัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำ 

ปลากราย

ปลากราย สัตว์น้ำที่ได้รับความนิยมในการรับประทานอีกชนิดหนึ่ง พวกมันจัดเป็นปลาเนื้ออ่อนที่มีเนื้อสีขาวและมีเนื้อเป็นจำนวนมาก เนื้อจะมีความเหนียวนุ่มและรสชาติอร่อย ปัจจุบันเราสามารถค้นพบปลาที่อยู่ในวงศ์สายพันธุ์ดังกล่าวได้กว่า 4 สกุลและอีก 10 ชนิด สำหรับในประเทศไทยจะมีอยู่ 2 สกุลและ 4 ชนิด ประกอบไปด้วย ปลาตองหรือปลาสลาด ป่าตองลาย ปลาสะตือ และปลากรายนั่นเอง

ปลากรายจะมีลักษณะค่อนข้างแบน หัวและลำตัวจะถูกแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ส่วนหัวจะเป็นทรงสามเหลี่ยมที่มีขนาดค่อนข้างเล็กกว่าลำตัว เมื่อพ้นคอไปแล้วก็จะมีโหนกหลังขนาดใหญ่ใหญ่ รอยเว้าบริเวณต้นคอจะมีมากกว่าปลาสายพันธุ์ทั่วไป

ครีบล่างจะเริ่มตั้งแต่บริเวณส่วนหน้าอกไปจนถึงหาง ด้านบนของลำตัวจะเป็นสีออกน้ำเงินเข้มหรือสีดำ ส่วนด้านล่างมักเป็นสีเงินออกเหลือง ๆ บริเวณท้ายของลำตัวมักปรากฏจุดสีดำเรียงแถวกันดูสวยงาม

ถึงแม้ว่าจะดูเหมือนไม่มีเกล็ด แต่ความเป็นจริงแล้วปลากรายมีเกล็ดขนาดเล็กและละเอียดมาก นอกจากนี้ยังมีเกล็ดบริเวณท้องที่สามารถเปลี่ยนให้กลายเป็นหนามแข็งจำนวนกว่า 45 คู่อีกด้วย เราสามารถแยกตัวผู้ออกจากตัวเมียได้อย่างชัดเจน เนื่องจากตัวผู้จะมีลำตัวที่ยาวกว่า และครีบท้องของก็จะยาวมากกว่าเพศเมียอีกด้วย 

ปลากรายเป็นสัตว์กินเนื้อที่มักจะออกหากินทั้งในตอนกลางวันและกลางคืน อาหารส่วนใหญ่ของพวกมันจะประกอบไปด้วยลูกปลา สัตว์ตัวเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ และกุ้ง แต่ในช่วงแรกเกิดหลังจากที่ถุงไข่ของพวกมันหมดเรียบร้อยแล้ว ก็จะกินพวกไรแดงเป็นหลัก

การกระจายพันธุ์และการสืบพันธุ์

ปลากราย

ปลากรายเป็นปลาน้ำจืดที่สามารถพบได้ทั่วไปทั้งในแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะพบตามแม่น้ำลำคลองบริเวณภาคกลางและภาคเหนือ แต่ความจริงแล้วพวกมันก็อาศัยอยู่ทั่วประเทศไทยเช่นกัน อยู่ได้ทั้งในเขื่อน สระน้ำ และอ่างเก็บน้ำด้วย

เมื่อเข้าสู่ช่วงปลายฤดูแล้งพวกมันก็จะเริ่มวางไข่ไปจนถึงช่วงฤดูฝน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะวางไข่ในช่วงต้นฤดูฝนมากที่สุด เมื่อตัวเมียวางไข่ก็มักจะวางไข่บริเวณใกล้กับเสาไม้หรือตอไม้ริมชายฝั่ง สำหรับการยึดเกาะและเป็นที่โล่ง ไม่ค่อยจะวางไข่ในกอหญ้าเหมือนกับปลาสายพันธุ์อื่นสักเท่าไหร่ ตัวผู้จะทำหน้าที่ในการขุดหลุมเป็นโพรงใกล้กับเสาไม้ จากนั้นพวกมันก็จะช่วยกันดูแลไข่จนกว่าจะฟักออกมาเป็นตัว

ประโยชน์ที่จะได้รับจากปลากราย

ปลากราย

ปลากรายถือเป็นปลาที่มีประโยชน์ทั้งในด้านโภชนาการและการเลี้ยงเพื่อสร้างรายได้ พวกมันจึงจัดเป็นสัตว์เศรษฐกิจอย่างแท้จริง ประโยชน์ของพวกมันจะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

  • เนื้อรสชาติอร่อย เนื้อตอนที่ยังไม่ได้ปรุงสุกจะมีสีขาวอมแดง มีก้างเล็กน้อย แต่ถือว่าเป็นปลาที่มีเนื้อเยอะ นิยมนำเอามาประกอบอาหารหลายเมนู โดยเฉพาะลูกชิ้นปลาที่จะให้สัมผัสนุ่มเด้ง สามารถนำเอาเนื้อมาทำเป็นลูกชิ้นได้เลยโดยที่ไม่ต้องผสมแป้ง
  • ราคาสูง ตามธรรมชาติถือเป็นปลาที่หายาก ทำให้ปลาที่จับได้จากธรรมชาติจึงมีราคาสูง ช่วยให้ชาวประมงท้องถิ่นมีรายได้จากการจับปลา เพราะขายได้ราคาดีมากกว่าปลาที่เพาะเลี้ยง แต่ถึงอย่างนั้นก็ได้รับความนิยมในการเพาะเลี้ยงอยู่ดี เพราะถึงแม้ว่าจะเป็นปลาจากบ่อเลี้ยง แต่ก็ยังคงมีราคาที่สูงไม่แพ้กัน
  • เลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เนื่องจากปลากรายมาพร้อมกับรูปลักษณ์แปลกตาและดูสวยงาม ทำให้พวกมันค่อนข้างได้รับความนิยมในกลุ่มคนเลี้ยงปลาสวยงามไม่น้อยเลยทีเดียว

ปลากราย สัตว์เศรษฐกิจสร้างรายได้ เลี้ยงยังไงให้รวย

ปลากราย

ปลากรายถือเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างได้รับความนิยมในการทำฟาร์มเป็นอย่างมาก ถือเป็นหนึ่งในสัตว์ที่นิยมทำเป็นฟาร์มปศุสัตว์ขนาดใหญ่ในประเทศไทย ที่สร้างรายได้มหาศาลจนกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีความสำคัญ แต่ก่อนที่เราจะตัดสินใจลงทุนทำฟาร์ม มีสิ่งที่คุณควรรู้เอาไว้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น 

การอนุบาลลูกปลา 

หลังจากที่ลูกปลาฟักออกมาจากไข่ประมาณ 3-5 วัน พวกมันก็จะเริ่มหาอาหารกินด้วยตัวเองได้ เพราะฉะนั้นหลังจากที่ผ่านไปประมาณ 5-12 วัน เราควรให้อาหารพวกมันเป็นไข่ต้มและไรแดง ช่วงเวลานี้พวกมันอาจจะมีลำตัวเป็นสีน้ำตาล แต่เมื่อโตขึ้นก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีดำ หลังจากนั้น 1 สัปดาห์ให้พวกมันกินไรแดงผสมกับเนื้อปลาหรือกุ้งบด ช่วงนี้ตัวของพวกมันจะเริ่มสีจางลงและมีจุดสีดำตามลำตัว

หลังมีอายุครบ 25 วันพวกมันก็จะเริ่มมีลายจาง ๆ ตั้งแต่ส่วนหัวไปจนถึงส่วนหาง และมีลายพาดถึงหางหลังอายุครบ 1 เดือน ในช่วงนี้พวกมันจะมีความยาวประมาณไม่เกิน 8 เซนติเมตร เป็นช่วงเวลาที่สามารถปล่อยลงไปเลี้ยงในบ่อได้ หรือจะรอจนกว่าจะอายุครบ 2 เดือนก็ได้เช่นกัน จะช่วยให้ลูกปลามีอัตราการรอดชีวิตมากขึ้นกว่าเดิม

การเลี้ยง 

โดยส่วนใหญ่แล้วคนจะนิยมเลี้ยงปลากรายในบ่อดิน ให้อาหารเป็นอาหารสำเร็จรูป โดยสามารถให้อาหารปลาดุกได้ หลังจากที่พวกมันมีอายุครบ 2 เดือนแล้ว เราก็สามารถนำเอาพวกมันมาปล่อยในบ่อเลี้ยงได้ตามปกติ อัตราความหนาแน่นของปลาอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 15 ตัวต่อ 1 ตารางเมตร

เมื่ออายุครบ 5 เดือน พวกมันก็จะเริ่มมีน้ำหนักตัว 250 กรัมขึ้นไป และมีความยาวประมาณ 15 เซนติเมตรขึ้นไป และให้อาหาร 2 มื้อ เช้าและเย็น เมื่อพวกมันเริ่มโตเต็มวัยก็สามารถจับพวกมันไปขายได้ และยังสามารถจับปลาในบ่อมาเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์เพื่อผสมพันธุ์เอาลูกปลาในปริมาณที่มากขึ้นได้

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ของเหล่าสัตว์โลกแสนรู้ได้ที่ Animalkingdom.me

บทความที่เกี่ยวข้อง

Leave a Comment