คางคก สิ่งมีชีวิตหน้าตาไม่น่าเอ็นดูแต่มีความสำคัญกับระบบนิเวศ 

by animalkingdom
316 views
คางคก

ในสวนหลังบ้านของเรานั้น เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตมากมายอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่ง คางคก ก็คือหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่แฝงตัวอยู่ในส่วนหลังบ้านของเราได้อย่างกลมกลืน ซึ่งหากพวกมันไม่ส่งเสียงออกมา บางครั้งเราก็ไม่รู้ว่ามีพวกเขาอาศัยอยู่ร่วมกับพวกเราด้วยเช่นกัน ด้วยลักษณะภายนอกของพวกเขาที่ไม่ค่อยน่ารักน่าเอ็นดูสักเท่าไหร่ทำให้หลายคนรู้สึกหวาดกลัวเมื่อได้พบเห็น 

แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้พวกเขาน่ากลัวเท่านั้น เพราะความจริงแล้วพวกเขายังมีพิษอีกด้วย อย่างไรก็ตามเราไม่แนะนำให้ทุกคนกำจัดพวกเขาออกไปจากสวนหลังบ้านแต่อย่างใด เพราะพวกเขาเองก็มีความสำคัญกับระบบนิเวศเช่นเดียวกัน หากพวกเขาอยู่โดยที่ไม่ได้ทำร้ายใคร การปล่อยพวกเขาไว้ก็จะช่วยให้ระบบนิเวศยังคงสมดุลอยู่ตามเดิม สำหรับใครที่อยากจะทำความรู้จักกับสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์นี้ให้มากขึ้น วันนี้ Animalkingdom จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับพวกเขากัน ไปติดตามกันได้เลย

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่ 

ทำความรู้จักคางคก สิ่งมีชีวิตที่พบเห็นได้ทั่วไปตามบ้านของเรา 

คางคก

คางคก เป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในกลุ่มของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ที่รูปร่างหน้าตาภายนอกของพวกเขาไม่เป็นมิตรเลยแม้แต่น้อย ถึงแม้พวกเขาจะมีดวงตากลมโตและใสแป๋ว หากมองแบบผิวเผินลักษณะก็ดูจะใกล้เคียงกบที่ในปัจจุบันผู้คนนิยมเลี้ยงไม่น้อยเช่นเดียวกัน 

แต่สิ่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนเลยก็คือ รอยตะปุ่มตะป่ำบนผิวหนังของพวกเขา ที่บางคนแค่เห็นก็ขนลุกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ยังไม่รวมไปถึงสีผิวที่ดูสกปรกหรือลวดลายไปทั้งตัวอีกต่างหาก แต่มันก็ดีไม่น้อยเช่นเดียวกันที่พวกเขามีลักษณะท่าทางแบบนั้น เพราะมันทำให้มนุษย์อย่างเราไม่อยากจะเข้าใกล้พวกเขาสักเท่าไหร่ 

นอกจากนั้น คางคกยังมีพิษอยู่ตามผิวหนังบริเวณที่เป็นตะปุ่มตะป่ำตลอดทั้งตัว และยังมีต่อมพิษอยู่บริเวณเหนือลูกตาที่ใช้เป็นคลังเก็บพิษและยังใช้ในการขับพิษออกมาได้อีกด้วย ในประเทศไทยเรานั้นจะเรียกสิ่งนี้ว่ายางคางคก ลักษณะจะเป็นเมือกสีขาวที่มีความใกล้เคียงกับน้ำนม ส่วนประกอบของสารพิษนั้น หลัก ๆ คือ “สารบูโฟท็อกซิน” ที่จะส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ 

คางคก

แต่การระมัดระวังต่อมพิษอย่างเดียวก็ไม่ได้ช่วยให้คุณปลอดภัยแต่ยังได้ เพราะคางคกยังมีพิษอีกหลายส่วนบนร่างกายเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง เลือดของพวกเขา เครื่องใน หรือแม้แต่ไข่เองก็ตาม หากเราเผลอนำเอาไปปรุงอาหารและรับประทานโดยที่ไม่ได้ผ่านกรรมวิธีอย่างถูกต้องและได้รับพิษเข้าไป ก็จะทำให้เกิดอาการแขนขาอ่อนแรง รู้สึกอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน หายใจหอบแรง และในบางรายอาจมีภาวะหัวใจล้มเหลวจนถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว หากโดนพิษบริเวณดวงตาก็จะทำให้แก้วตาและเยื่อบุตามีอาการอักเสบได้ ทำให้มองเห็นภาพพร่ามัวและยังอาจทำให้คุณถึงขั้นตาบอดได้เลยทีเดียว 

คางคก

สำหรับวงจรชีวิตของคางคกนั้นก็ไม่ได้แตกต่างอะไรจากญาติบ้านใกล้เรือนเคียงของพวกเขาอย่างกบ เริ่มต้นจากการเป็นไข่ก่อนจะฟักออกมาเป็นลูกอ๊อด หลังจากนั้นก็จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการเติบโต มีขางอกออกมา และโตเต็มวัยจนสามารถออกมาใช้ชีวิตนอกผืนน้ำได้สำเร็จ 

เห็นพวกเขาตัวเล็กแบบนี้ความจริงแล้วพวกเขาไม่ได้เป็นเพียงแค่เหยื่อแต่ฝ่ายเดียว แต่พวกเขายังเป็นสัตว์นักล่าที่กินเนื้ออีกด้วย โดยเหยื่อของพวกเขานั้นก็จะมีทั้งแมลงหรือหนอนทั่วไปที่สามารถพบได้ตามธรรมชาติ ถึงแม้ว่าเหยื่อของพวกเขาจะสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วแต่พวกเขาเองก็เคลื่อนที่ได้รวดเร็วไม่แพ้กัน และเราต้องไม่ลืมด้วยว่าพวกเขาสามารถตวัดลิ้นได้ในพริบตาอีกต่างหาก 

ดังนั้น สำหรับพวกเขาแล้วการหาอาหารในบริเวณสวนของเราจึงไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด การมีพวกเขาเอาไว้ก็ช่วยลดจำนวนประชากรแมลงภายในบ้านได้เป็นอย่างดีไม่น้อยเลยทีเดียว เพียงแต่ว่าเราอาจจะต้องระมัดระวังให้ดีเวลาที่พบเจอกับพวกเขา พยายามอย่าไปแหย่หรือยุยงให้พวกเขารู้สึกโกรธ รู้สึกไม่ปลอดภัย จนพ่นพิษออกมาจะดีกว่า 

พวกเขาเป็นสัตว์หากินตอนกลางคืน ส่วนตอนกลางวันนั้นก็มักจะใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการนอนแอบอยู่ใต้ซอกหินหรือขอนไม้ เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้ที่จะมีขนาดตัวเล็กกว่า ก็จะตามไปเกาะบนหลังตัวเมียเพื่อปล่อยน้ำเชื้อเข้าสู่อวัยวะสืบพันธุ์ หลังจากนั้นตัวเมียก็จะไปวางไข่ในน้ำและเป็นวัฏจักรชีวิตของพวกเขาอย่างที่เราเล่ามาข้างต้น 

รู้หรือไม่ คางคกสามารถนำเอามาใช้ทำเป็นยาได้ด้วย 

คางคก

คางคก อาจเป็นสิ่งมีชีวิตที่น่าสยดสยองแถมยังมีพิษอีกต่างหาก แต่ทราบหรือไม่ว่าในประเทศไทยของเรานั้นนำเอาพวกเขามาใช้เป็นสมุนไพรได้เช่นเดียวกัน เพราะมันไม่ได้จำกัดเฉพาะต้นไม้ใบหญ้าเพียงแค่อย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงแร่ทั้งหลายที่อยู่ในดินหรือแม้แต่สิ่งที่ได้มาจากสัตว์ก็ตาม แพทย์แผนไทยจะคัดเลือกเฉพาะตัวที่ตายซากหรือตายแล้ว ร่างกายแห้งเป็นที่เรียบร้อยแล้วแต่ไม่มีการเน่าเปื่อยหรือส่งกลิ่นเหม็น นำเอามาสุมไฟตลอดทั้งตัวจนได้ออกมากลายเป็นถ่าน หลังจากนั้นก็จะบดผสมเข้ากับน้ำมันยางใช้เป็นยาทาแผลรักษาโรคมะเร็ง โรคเรื้อน คุดทะราดหรือโรคผิวหนังที่เกิดมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย รวมไปถึงใช้ในการฆ่าเชื้อโรคอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง

Leave a Comment