ปลาทูน่า จากท้องทะเลสู่จานอาหาร เรื่องราวของปลาเศรษฐกิจรสชาติอร่อย 

by animalkingdom
93 views
ปลาทูน่า

เมื่อพูดถึงสัตว์เศรษฐกิจ หลายคนอาจนึกถึงสัตว์ในฟาร์มปศุสัตว์อย่างสุกร เป็ด ไก่ แต่ความจริงแล้วปลาเองก็ถือว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะปลาทูน่า ปลาที่มีการจับและบริโภคมายาวนาน ได้รับการขนานนามให้เป็นราชาแห่งมหาสมุทร ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่โตและการว่ายน้ำที่รวดเร็ว พวกเขาเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง อุดมไปด้วยสารอาหารมากมายที่ดีต่อสุขภาพ แต่รู้หรือไม่ว่าความจริงแล้วปลาสายพันธุ์นี้มีสิ่งที่น่าสนใจมากกว่าแค่ความอร่อย

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่

สำรวจสายพันธุ์ของปลาทูน่า สัตว์ที่มีความน่าสนใจมากกว่าแค่รสชาติอร่อย 

ปลาทูน่า ปลาที่อาศัยอยู่ในทะเลตื้นไปจนถึงความลึกระดับปานกลาง มีมากมายหลากหลายสายพันธุ์ ได้รับความนิยมในฐานะของอาหารที่มีรสชาติอร่อยและอุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ผู้คนจึงมักจะนำปลาชนิดนี้มาประกอบอาหารหรือทำเป็นอาหารกระป๋องเพื่อเป็นการถนอมอาหาร

แต่ทราบหรือไม่ว่าปลาทูน่าที่เรานิยมรับประทานเป็นอาหารนั้น ความจริงแล้วมีหลากหลายสายพันธุ์เลยทีเดียว วันนี้เราจะพาทุกคนไปดูกันว่า ปลาชนิดนี้มีสายพันธุ์อะไรบ้างและแตกต่างกันอย่างไร

ปลาทูน่า

สายพันธุ์ครีบเหลือง

ปลาทูน่าสายพันธุ์ครีบเหลือง หรือ Yellowfin Tuna จัดเป็นปลาขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ตามมหาสมุทรเขตร้อนและเขตอบอุ่น สามารถพบได้ทั่วไปทั้งในทะเลตื้นไปจนถึงความลึกประมาณ 300 เมตร อาศัยในน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ 18 องศาเซลเซียสขึ้นไป แต่ไม่เกิน 31 องศาเซลเซียส 

ลักษณะที่โดดเด่นของสายพันธุ์ครีบเหลืองคือ จะมีครีบเป็นสีเหลือง บริเวณกึ่งกลางลำตัวจะมีแถบสีเหลืองที่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน ส่วนบริเวณหลังตั้งแต่ปากไปจนถึงหางจะมีสีดำสนิท ส่วนท้องของจะเป็นสีเงินเหลือบแสง 

นอกจากนี้ยังมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นนั่นก็คือ หากผ่าท้องออกมาก็จะพบว่า บริเวณด้านล่างของตับไม่มีลวดลายใด ๆ เจือปนอยู่เลย ปลาทูน่าครีบเหลืองจะมีความยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ไปจนถึงประมาณ 1.5 เมตร แต่เมื่อโตเต็มที่แล้วสามารถมีความยาวได้ถึง 2 เมตร มีเนื้อที่แน่นและไม่ยุ่ย นิยมนำมาทานสดหรือทำทูน่ากระป๋อง

สายพันธุ์ตาโต 

ปลาทูน่าสายพันธุ์ตาโต หรือ Bigeye Tuna จัดว่าเป็นสายพันธุ์ทูน่าขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ตามมหาสมุทรเขตอบอุ่นและเขตร้อน เช่นเดียวกันกับสายพันธุ์ครีบเหลือง พบได้ทั่วไปในบริเวณน้ำตื้นจนถึงความลึก 250 เมตร ความโดดเด่นของพวกมันก็คือ บริเวณกึ่งกลางลำตัวจะมีความกว้างมากที่สุด 

ลักษณะโดยรวมจะคล้ายกับสายพันธุ์ครีบเหลือง แต่ตับของพวกมันจะมีลวดลาย นอกจากนี้ยังมีดวงตากลมโตสมกับชื่อสายพันธุ์อีกด้วย เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวลำตัวได้กว่า 2 เมตร ส่วนความยาวเฉลี่ยจะเริ่มต้นที่ 50 เซนติเมตรไปจนถึง 1.8 เมตร เนื้อเมื่อยังสดจะมีสีแดง แม้ผ่านความร้อนแล้วก็ยังคงเป็นสีแดงตามเดิม ปลาทูน่าสายพันธุ์นี้จึงนิยมนำมาทานสดมากกว่าการนำไปบรรจุกระป๋อง

สายพันธุ์ครีบยาว 

ปลาทูน่าสายพันธุ์ครีบยาว หรือ Longfin Tuna จะมีขนาดตัวที่ใหญ่โตและอาศัยอยู่ในระดับน้ำที่ลึกกว่า 600 เมตร รูปลักษณ์ภายนอกค่อนข้างแตกต่างจากสายพันธุ์อื่น เนื่องจากบริเวณที่กว้างมากที่สุดจะอยู่ค่อนไปทางด้านหลังของลำตัว ผิวหนังด้านบนจะเป็นแถบสีดำ ไล่ลงมาเป็นสีฟ้าและสีเหลืองอ่อน ตั้งแต่กลางลำตัวไปจนถึงช่วงล่างจะมีสีเงินเหลือบแสง 

เมื่อโตเต็มที่พวกมันจะมีความยาวประมาณ 1.3 เมตร และมีน้ำหนักได้สูงสุดถึง 40 กิโลกรัมเลยทีเดียว แต่โดยทั่วไปแล้วจะพบว่ามีความยาวประมาณ 80 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร เนื้อมีลักษณะแน่น ไม่ยุ่ย มันและอร่อย จนได้รับการขนานนามว่าเป็น เนื้อไก่ทะเล นิยมนำมาทำเป็นอาหารกระป๋อง

ปลาทูน่า

สายพันธุ์ครีบน้ำเงินใต้ 

สายพันธุ์ครีบน้ำเงินใต้ หรือที่เรียกกันว่า Southern Bluefin Tuna เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ปลาทูน่าขนาดใหญ่ ที่ส่วนใหญ่แล้วมักกระจายสายพันธุ์อยู่ทางตะวันตกไปจนถึงตะวันตกเฉียงเหนือในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รวมถึงเกาะทัสมาเนีย 

อาศัยอยู่ในน้ำที่มีอุณหภูมิตั้งแต่ 13.5 องศาเซลเซียส ไปจนถึง 25.5 องศาเซลเซียส หัวค่อนข้างใหญ่โตเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น ลำตัวอ้วนสั้น บริเวณหลังและครีบจะมีสีน้ำเงินเข้มไปจนถึงเกือบดำ

เมื่อโตเต็มที่แล้วสามารถมีความยาวได้ถึง 2.25 เมตร แถมยังมีน้ำหนักได้มากกว่า 250 กิโลกรัมขึ้นไป แต่โดยปกติแล้วขนาดที่มักจะจับได้จะอยู่ที่ประมาณ 1 เมตรไปจนถึง 1.5 เมตร

สายพันธุ์ครีบน้ำเงินเหนือ

ปลาทูน่าสายพันธุ์ครีบเงินเหนือ หรือ Northern Bluefin Tuna มีการแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกจะอาศัยอยู่บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกตะวันตกและตะวันออก ตอนใต้ในอ่าวเม็กซิโก รวมถึงทะเลแคริบเบียน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลแอฟริกาใต้ และยังพบได้ในประเทศเวเนซุเอลาและบราซิลอีกด้วย

ส่วนกลุ่มที่ 2 จะอาศัยอยู่บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกไปจนถึงอลาสกา บริเวณทางตอนใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนีย นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ทางฝั่งตะวันตกและทางตอนเหนือของฟิลิปปินส์อีกด้วย

ความโดดเด่นของปลาทูน่าสายพันธุ์ครีบน้ำเงินเหนือคือ บริเวณที่กว้างมากที่สุดของลำตัวจะอยู่ช่วงบนของลำตัว ค่อนข้างอ้วนป้อม มีขนาดหัวและดวงตาที่ใหญ่โต บริเวณด้านหลังตั้งแต่ส่วนหัวจะมีสีดำสนิทแล้วจะค่อย ๆ เปลี่ยนสีไปเป็นสีเงินที่บริเวณส่วนล่างของลำตัว 

ครีบหลังชิ้นแรกจะมีสีน้ำเงินหรือเหลืองเข้ม ครีบที่สองจะเป็นสีน้ำตาลแดง ครีบถัดไปและครีบก้นจะมีสีเหลือง ขอบเป็นสีดำ เมื่อโตเต็มวัยสามารถมีความยาวได้ถึง 3 เมตร และน้ำหนักตัวร่วม 550 กิโลกรัม แต่ทั่วไปจะมีความยาวอยู่ที่ 1-2.5 เมตร

ปลาทูน่า

ปลาโอแถบ 

ถึงจะเป็นปลาโอ แต่ก็จัดอยู่ในตระกูลทูน่าเหมือนกัน จัดว่าเป็นปลาทูน่าขนาดเล็ก โดยปกติแล้วจะมีความยาวอยู่ที่ 1.8 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 40 กิโลกรัม นิยมรับประทานทั้งแบบสดและทำเป็นทูน่ากระป๋อง นอกจากนี้สายพันธุ์ดังกล่าวยังถูกจับและนำมาแปรรูปเป็นอาหารมากที่สุดในทุกสายพันธุ์อีกต่างหาก 

พวกเขาอาศัยอยู่ตามทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น สามารถอยู่ได้ลึกสุดกว่า 260 เมตร ลักษณะที่โดดเด่นก็คือรูปทรงลำตัวที่มีความคล้ายคลึงกับกระสวย ฟันจะเป็นแถบเดี่ยว มีครีบหูที่สั่น บริเวณสันหลังจะเป็นสีม่วงดำและไล่ระดับเป็นสีน้ำเงินเมื่อมาถึงช่วงล่างของลำตัว 

ปลาโอดำ 

ปลาโอดำเป็นปลาทูน่าขนาดเล็กที่สามารถพบได้ทั่วไปในความลึกประมาณ 200 เมตร แพร่กระจายอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี และอินเดีย ความโดดเด่นของพวกเขาก็คือ มีลักษณะลำตัวกลมและสั้นป้อม เมื่อโตเต็มวัยมักจะมีจุดเป็นสีเข้มเรียงตามลำตัว เมื่อโตเต็มที่จะมีความยาวประมาณ 1.3 เมตร และน้ำหนักประมาณ 35 กิโลกรัม

รูปแบบการทำประมงปลาทูน่า อาหารสุดอร่อย อุดมไปด้วยสารอาหาร

ปลาทูน่า

เนื่องจากปลาทูน่าเป็นอาหารทะเลยอดนิยม ทำให้มีการทำประมงเพื่อจับปลาปลาในเชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวางทั่วโลก ปัจจุบันพบว่ามีการจับในทุกสายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ สายพันธุ์ครีบยาว ครีบเหลือง ครีมน้ำเงิน ตาโต และปลาโอแถบ

ส่วนกรรมวิธีในการจับจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ ประกอบไปด้วย การจับโดยการใช้อวน และการจับโดยการใช้เบ็ดราว เป็นวิธีการที่จะนำเอาเบ็ดมาผูกติดกับเรือและปล่อยสายเบ็ดให้ยาวออกไป นิยมใช้ในการจับปลาระดับน้ำตื้นไปจนถึงปลาที่อยู่ในทะเลลึกประมาณ 600 เมตร 

สำหรับวิธีการจับปลาสายพันธุ์นี้

ในประเทศไทย สามารถทำประมงปลาทูน่านี้ได้ทั้งในฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ตั้งแต่ทางตอนบนไปจนถึงตอนล่าง แต่สายพันธุ์ที่สามารถจับได้ในประเทศไทยส่วนใหญ่มักเป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กอย่าง ปลาโอดำหรือปลาโอแถบ หากต้องการจับสายพันธุ์ขนาดใหญ่โต ต้องออกเดินเรือไปยังน่านน้ำสากล หรือไม่ก็ใช้วิธีการนำเข้าจากต่างประเทศแทน

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ของบรรดาสัตว์โลกแสนรู้ได้ที่ Animalkingdom.me

บทความที่เกี่ยวข้อง

Leave a Comment