ปลานกแก้ว สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ในท้องทะเล

by animalkingdom
95 views
ปลานกแก้ว

หากคุณดำน้ำแล้วเจอเข้ากับปลานกแก้ว ถือว่าคุณนั้นโชคดีเป็นอย่างมาก แต่ไม่ใช่ความโชคดีที่เจอปลาชนิดนี้ แต่เป็นความโชคดีที่คุณได้ดำน้ำอยู่ในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นแนวปะการังใต้น้ำ พันธุ์ปลาที่มีความหลากหลาย และอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ ปลาทะเลสวยงามสายพันธุ์นี้ ยังถือว่าเป็นปลาที่มีความสวยงามเป็นอย่างมาก ด้วยรูปลักษณ์ที่แตกต่างจากปลาชนิดอื่นและสีสันที่สวยงาม ทำให้หลายคนชื่นชอบเป็นอย่างมาก วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับปลาทะเลสายพันธุ์นี้กัน พวกมันจะมีลักษณะเป็นอย่างไรและจะสวยงามอย่างที่เราได้กล่าวไปหรือไม่ ไปติดตามกันได้เลย

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่

ทำความรู้จักกับปลานกแก้ว ฮีโร่ผู้พิทักษ์แนวปะการัง

ปลานกแก้ว

ปลานกแก้ว ปลาทะเลสวยงามที่มีรูปลักษณ์ที่สวยงาม โดดเด่น ใครที่มีโอกาสได้ไปดำน้ำตามแนวปะการัง อาจเคยมีโอกาสได้พบเจอพวกเขาบ้างไม่มากก็น้อย พวกมันจัดเป็นปลาทะเลขนาดกลางที่มีเกล็ดขนาดใหญ่ มาพร้อมความโดดเด่นตรงจะงอยปากที่สามารถยืดหดได้เหมือนกับนกแก้ว

เมื่อโตเต็มที่พวกมันจะมีขนาดได้ถึง 70 เซนติเมตร ตามลำตัวมักเป็นสีฟ้านีออนสะท้อนแสง มีเหลือบสีเขียว สีเหลือง สีชมพู สีสันดูสวยงามราวกับว่าเราได้เห็นนกแก้วแหวกว่ายในท้องทะเลยังไงอย่างนั้น จากความสวยงามของพวกมัน ปลานกแก้วจึงเป็นปลาทะเลอีกหนึ่งสายพันธุ์ที่ถูกมนุษย์คุกคามอย่างหนัก ทำให้จำนวนประชากรของปลาสายพันธุ์นี้ลดลงอย่างน่าใจหาย

นิสัยและพฤติกรรมการหาอาหาร

ปลานกแก้ว

ปลานกแก้วมีพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกับปลาทะเลทั่วไป สายพันธุ์ส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์กินพืช แต่ก็มีบางสายพันธุ์อย่างสายพันธุ์หัวโหนกที่กินปะการังแบบที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นอาหาร พวกเขามีฟันพิเศษที่อยู่ในลำคอ คอยทำหน้าที่ในการบดปะการังเพื่อสกัดสาหร่ายออกมาเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย

จากนั้นก็จะขับเศษปะการังที่ถูกเคี้ยวออกมากลายเป็นทราย ทรายที่เราเห็นตามชายหาดส่วนหนึ่งก็เกิดมาจากกระบวนการกินอาหารของพวกมันนั่นเอง มีการสำรวจพบว่าปลาสายพันธุ์นี้ 1 ตัวสามารถสร้างทรายในชายหาดได้กว่า 100 กิโลกรัมต่อปี

ปกติแล้วปลานกแก้วมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง เวลาว่ายน้ำก็จะดูสง่างามเป็นอย่างมาก พวกเขามักออกหากินในช่วงกลางวันและพักผ่อนในช่วงกลางคืน ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้นอนหลับเหมือน ๆ กับปลาสายพันธุ์อื่นก็ตาม 

เวลาพักผ่อนพวกมันจะไปซุกตัวอยู่ตามซอกหินและจะปล่อยเมือกออกมาเพื่อห่อหุ้มร่างกาย เมือกดังกล่าวมีหน้าที่ในการป้องกันพวกมันจากอันตรายของเหล่านักล่าใต้ท้องทะเล รวมถึงปรสิตและหนอนพยาธิที่จะมารบกวน

การสืบพันธุ์

ปลานกแก้ว

การสืบพันธุ์ของปลานกแก้วถือว่าค่อนข้างน่าสนใจเลยทีเดียว เพราะตลอดช่วงชีวิตของพวกมัน มันสามารถเปลี่ยนเพศได้หลายครั้ง หากเป็นตัวเมียหลังจากได้รับการผสมพันธุ์แล้วก็จะวางไข่นับร้อยใบ ปล่อยให้ไข่เหล่านั้นลอยไปในน้ำอย่างอิสระ เมื่อไข่ตกลงพื้นและฝังตัวอยู่ในปะการังก็จะอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะฟักออกมาเป็นตัว

โดยปกติแล้วพวกเขาจะมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 7 ปี ตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดจะกลายเป็นจ่าฝูง แต่เมื่อจ่าฝูงตายลงไป ตัวเมียที่แข็งแกร่งก็สามารถเปลี่ยนเพศให้ตัวเองกลายเป็นตัวผู้และขึ้นมาเป็นจ่าฝูงตัวต่อไป ลักษณะการเปลี่ยนเพศค่อนข้างคล้ายคลึงกับปลาการ์ตูน

แหล่งที่อยู่อาศัย

ปลานกแก้วถือเป็นปลาสวยงามที่สามารถพบได้ทั่วไปตามแนวปะการังในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่น สำหรับในประเทศไทยสามารถพบเจอปลาสายพันธุ์นี้ได้ทั้งในทะเลอ่าวไทยและอันดามัน มันจึงไม่น่าแปลกใจหากเราไปดำน้ำดูปะการังแล้วโชคดีมีโอกาสได้เห็นพวกมันบ้าง แต่การที่พวกมันสามารถพบเจอได้อย่างง่ายดาย ทำให้มันกลายเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่พวกมันมักจะถูกจับอยู่เป็นประจำเช่นกัน

รู้หรือไม่ ปลานกแก้วเป็นสัตว์คุ้มครอง ห้ามเลี้ยง ห้ามจับ ห้ามกิน

ปลานกแก้ว

นับเป็นเรื่องที่น่าเสียใจไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะถึงแม้ว่าปลานกแก้วจะมีความสำคัญกับระบบนิเวศและมีจำนวนน้อยลงกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัดตามธรรมชาติ แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ยังคงเห็นคนแอบลักลอบเลี้ยงปลาสายพันธุ์นี้อยู่จำนวนไม่น้อย

นอกจากนี้ตามตลาดอาหารทะเลยังมีการลักลอบเอาพวกเขามาขายให้คนได้ซื้อไปรับประทานอีกด้วย ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วประชาชนชาวไทยทุกคนควรร่วมกันดูแลรักษาพวกมัน ให้สามารถดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไปได้อีกยาวนาน เพราะบอกเลยว่าหากพวกมันสูญพันธุ์ไป ทะเลไทยจะได้รับผลกระทบอย่างหนักแน่นอน

แม้ว่าปัจจุบันปลานกแก้วจะถูกจัดให้เป็นสัตว์สงวน แต่ก็ดูเหมือนว่าหลายคนจะยังไม่รู้ และอีกหลายคนไม่ได้ให้ความสำคัญ ต้องยอมรับว่าพวกเขาเป็นอาหารชั้นเลิศที่มีรสชาติอร่อย แต่ผลกระทบที่เราจะได้รับจากการลิ้มลองรสชาติพวกเขาคือ การที่ทะเลไทยไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป 

ด้วยเหตุนี้ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงมีการประกาศเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2558 ออกกฎห้ามกระทำการอันใดที่เป็นการรบกวน เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม หรือทำอันตรายสัตว์ทุกชนิดในเขตอุทยานแห่งชาติ หากมีการฝ่าฝืนก็จะมีความผิดและต้องรับโทษ ใครฝ่าฝืนก็จะมีระหว่างโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีขึ้นไป ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ของบรรดาสัตว์โลกแสนรู้ได้ที่ Animalkingdom.me

บทความที่เกี่ยวข้อง

Leave a Comment