นกอีมู

by animalkingdom
431 views

วันนี้เรา Animal kingdom จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสัตว์โลกน่ารักอย่างเจ้า “นกอีมู” สัตว์ปีกที่น่ารักมีขนฟูฟ่อง แถมยังเป็นนกอินเตอร์อีกด้วย เนื่องจากพวกมันมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปออสเตรเลียจึงกลายเป็นนกอินเตอร์ฮ่าฮ่า งั้นเราไปทำความรู้จักกับสัตว์ปีกชนิดนี้กันดีกว่าค่ะ ไปติดตามกันได้เลย

นกอีมู

ข้อมูลทั่วไปของนกอีมู

นกอีมูเป็นสัตว์ปีกที่มีขนาดตัวที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากนกกระจอกเทศ พวกมันเป็นสัตว์ปีกที่บินไม่ได้ แต่พวกมันวิ่งได้เร็วมาก ซึ่งสามารถวิ่งได้เร็วถึง 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พวกมันถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ.1696 โดย กัปตันชาวดัตช์ วิลเลม เดอวลามิงห์ ในขณะที่ค้นหาผู้ที่รอดชีวิตจากเรือลำหนึ่งที่หายสาบสูญไป ในบริเวณแนวชายฝั่งตะวันตกของออสเตรเลีย จึงทำให้ได้พบกันนกอีมู

นกอีมู

ลักษณะทางกายภาพ

สัตว์ปีกชนิดนี้มีขนนุ่ม โดยขนจะเป็นสีน้ำตาลและมีลักษณะคล้ายกับเส้นผม มีคอและขาที่ยาว สามารถสูงได้ถึง 6.5 ฟุตกันเลยทีเดียว และยังมีน้ำหนักถึง 150 ปอนด์ ซึ่งส่วนหัวขนจะบางกว่าทุกจุดและมีขนสีขาวแซมบ้างเล็กน้อย

ลักษณะพฤติกรรม

พวกมันเป็นนกที่ว่ายน้ำเก่งพอสมควร ชอบหากินร่วมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ แต่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ สัตว์ปีกชนิดนี้จะอยู่กันเป็นคู่ ๆ พวกมันมีนิสัยที่เชื่อง ค่อนข้างที่จะขี้เล่นและไม่มีนิสัยก้าวร้าวแต่อย่างใด

นกอีมู

สิ่งที่น่าสนใจ

นกอีมูเป็นสัตว์ปีกที่มีความอดทน และอึดต่อสภาพอากาศที่มีความแห้งแล้ง อากาศที่ร้อนจัดหรือหนาวจัดได้เป็นอย่างดี เนื่องจากพวกมันมีแผ่นไขมัน ที่สะสมอยู่บริเวณส่วนหลังเป็นจำนวนมาก จึงทำให้พวกมันสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้เป็นระยะเวลานาน แม้พวกมันจะขาดแคลนอาหารหรือไม่มีน้ำให้ดื่ม

การผสมพันธุ์

สำหรับช่วงเวลาการผสมพันธุ์ของสัตว์ปีกชนิดนี้นั้น จะอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ซึ่งจะมีการต่อสู้กันระหว่างตัวเมียเพื่อแย่งตัวผู้ไปครอง โดยตัวเมียสามารถผสมพันธุ์ได้หลายครั้ง และออกไข่ได้หลายฟองในหนึ่งฤดูกาล ไข่จะมีสีเขียวมรกต มีปริมาณไข่แดงมากถึง 60% กันเลยทีเดียว ซึ่งสายพันธุ์ของสัตว์ปีกชนิดนี้ที่ถูกเลี้ยงอยู่ในออสเตรเลียจะเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิม ตามปกติแล้วจะเลี้ยงอยู่ตามทุ่งหญ้าโล่ง ๆ และปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติ ปัจจุบันรัฐบาลออสเตรเลียได้มีการอนุรักษ์สัตว์ปีกชนิดนี้ และห้ามส่งออกนอกประเทศตั้งแต่ในช่วงปี ค.ศ.1960 ที่เราเห็นกันในประเทศอื่นนั้น เกิดจากการเพาะพันธุ์ขึ้นเองในภายหลัง

บทความที่เกี่ยวข้อง

Leave a Comment