กระซู่ แรดขนยาวหายาก

by animalkingdom
541 views

วันนี้ Animal kingdom จะพามารู้จักกับแรดสายพันธุ์หนึ่งที่มีขนาดตัวเล็กที่สุดในบรรดาแรดทั้งหมดบนโลกนั้นก็คือ “กระซู่” เป็นแรดขนยาวและมีขนหยาบมาก โดยปัจจุบันสัตว์ป่าชนิดนี้ถูกคุกคามมากจนถึงขั้นวิกฤติ เหลือประชากรเพียงแค่ 6 แห่งเท่านั้น มีการคาดการณ์ว่าเหลืออยู่ไม่ถึง 100 ตัว เนื่องจากจำนวนของสัตว์ป่าพวกนี้ลดลงอย่างรวดเร็ว เพราะโดนล่าเอานอซึ่งมีค่ามากในการแพทย์แผนจีน และยังโดนคุกคามจากการทำเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมอีกด้วย ดังนั้นวันนี้เราจะพามาตามติดข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับกระซู่กันค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปกันเลย

กระซู่

ข้อมูลทั่วไปของกระซู่

กระซู่นั้นเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งจัดอันดับอยู่ในสัตว์กีบคี่จำพวกแรด โดยเป็นแรดเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Dicerorhinus และยังเป็นสัตว์ป่าสงวนที่หายากมาก ในบางประเทศก็สูญพันธุ์ไปแล้ว

กระซู่

ลักษณะรูปร่างของกระซู่

พวกมันมีลักษณะเหมือนกับแรดแอฟริกาที่จะมี 2 นอ นอใหญ่จะอยู่ที่บริเวณจมูกด้านหน้า มีความยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ยาวที่สุดที่เคยถูกบันทึกไว้คือ 81 เซนติเมตร โดยนอด้านหลังจะมีขนาดที่เล็กกว่ามาก สีของนอจะเป็นสีเทาดำหรือน้ำตาลเข้ม ตัวผู้มีนอใหญ่กว่าตัวเมีย ตัวเมียบางตัวจะไม่มีนอ หนังของสัตว์ป่าพวกนี้จะมีหนังพับย่นขนาดใหญ่ 2 วงรอบลำตัว ซึ่งอยู่ที่บริเวณก่อนขาหลังและหลังขาหน้า และยังมีรอยพับย่นที่บริเวณรอบคอและขอบตาเล็กน้อย ส่วนที่ริมฝีปากข้างบนจะแหลมจนเป็นจะงอย มีความหนาประมาณ 10-16 มิลลิเมตร มีสีน้ำตาลอมเทา พวกมันจะมีขนยาวปกคลุมที่หลังไปจนถึงปลายหางที่มีหนังบางและที่ริมฝีปาก เมื่อตัวโตเต็มวัยจะมีความสูงราว 120-150 เซนติเมตร ส่วนน้ำหนักอยู่ที่ 500-800 กิโลกรัม

กระซู่

การสืบพันธุ์

กระซู่ตัวเมียจะพร้อมผสมพันธุ์เมื่ออายุได้ 6-7 ปี ส่วนตัวผู้จะพร้อมเมื่ออายุได้ 10 ปี โดยสัตว์ป่าพวกนี้จะตั้งท้องประมาณ 15-17 เดือน น้ำหนักแรกเกิดของลูกกระซู่จะอยู่ที่ 40-60 กิโลกรัม จะอาศัยอยู่กับแม่แค่ 3 ปีแรก และพวกมันจะหย่านมตอนอายุได้ 15 เดือน

ถิ่นที่อยู่อาศัย

พวกมันอาศัยอยู่ที่ป่าพรุ ป่าดิบชื้น และจะอยู่ในป่าเมฆของประเทศเมียนมาร์ ไทย ลาว ภูฏาน อินเดีย จีน มาเลเซีย บังกลาเทศ และอินโดนีเซีย ปัจจุบันสัตว์ป่าพวกนี้เหลือสังคมประชากรเพียง 6 แหล่ง ได้แก่ มาเลเซียหนึ่งแหล่ง บอร์เนียวหนึ่งแหล่ง และสุมาตราอีกสี่แหล่ง 

กระซู่

พฤติกรรม

กระซู่ชอบอยู่ตัวเดียวเพียงลำพังยกเว้นช่วงฤดูผสมพันธุ์หรือช่วงเลี้ยงลูกน้อย โดยช่วงที่มีการต่อสู้หรือป้องกันตัว แรดชนิดนี้จะไม่ใช้นอในการพุ่งชนเหมือนแรดชนิดอื่น ๆ มันจะใช้ปากที่เป็นรูปสามเหลี่ยมงับแทน โดยสัตว์ป่าพวกนี้จะออกหากินช่วงรุ่งเช้าและหลังเวลาเย็นก่อนค่ำ ในระหว่างวันมันจะนอนกลิ้งอยู่ในโคลนเพื่อพักผ่อน โดยพวกมันจะใช้เวลาทั้งวันกับการแช่ปลักโคลน แต่เมื่อมันหาปลักโคลนไม่ได้ มันจะใช้ขาและนอขุดปลักเอง ในช่วงฤดูฝนมันจะย้ายขึ้นไปพื้นที่สูง ส่วนฤดูหนาวมันจะย้ายกลับลงมาสู่พื้นราบ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Leave a Comment