ทำความรู้จักเจ้าสิงโตน้อย ชิสุ หมาพันธุ์เล็กเพื่อนรักผู้ซื่อสัตย์

by animalkingdom
539 views
ชิสุ

หากสังเกตสุนัขให้ดีเราจะพบว่า ประวัติของสุนัขหลายสายพันธุ์เคยเป็นสุนัขที่ถูกเลี้ยงด้วยราชวงศ์หรือชนชั้นสูงมาก่อน เช่นเดียวกันกับ ชิสุ หมาพันธุ์เล็กที่ในอดีตเคยเป็นสุนัขของราชวงศ์และชนชั้นสูง ทำให้พวกมันมีเรื่องราวมากมายให้เราได้เรียนรู้ นอกจากนี้สุนัขสายพันธุ์นี้ยังขึ้นชื่อเรื่องความน่ารักจนกลายเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกันพวกมันให้มากขึ้นก่อนตัดสินใจรับมาเลี้ยง

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่

เปิดประวัติความเป็นมาของสุนัขสายพันธุ์ชิสุ

ชิสุ

ถึงจะน่ารักราวกับตุ๊กตาเหมือนถูกพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาใหม่ แต่ความจริงแล้วชิสุเป็นสุนัขสายพันธุ์เก่าแก่มากที่สุดในโลกอีกสายพันธุ์หนึ่ง แถมพวกมันยังได้รับความนิยมในกลุ่มคนเลี้ยงหมามาตั้งแต่อดีต พวกมันมีต้นกำเนิดมาจากประเทศทิเบตก่อนได้รับความนิยมในประเทศจีน

คำว่า ชิสุ มีความหมายว่า สิงโตน้อยหรือสุนัขตัวเล็ก หากเปรียบเทียบกับสุนัขสายพันธุ์ดั้งเดิมในประเทศจีนอย่างสายพันธุ์ปักกิ่ง ถือเป็นสุนัขที่มีลักษณะค่อนข้างคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก เนื่องจากในอดีตสุนัขทั้ง 2 สายพันธุ์ได้รับความนิยมในกลุ่มราชวงศ์และชนชั้นสูง ทำให้มีการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์กันไปมา ลักษณะบางอย่างจึงมีความคล้ายคลึงกันจนหลายคนเกิดความสับสน

ชิสุ

สาเหตุที่ทำให้พวกเขากลายมาเป็นสุนัขของชนชั้นสูงในประเทศจีนเกิดจากการที่ พระทิเบตได้เดินทางมามอบสุนัขสายพันธุ์ดังกล่าวให้กับจักรพรรดิจีนเพื่อเป็นของกำนัลในช่วงปี 1903 ก่อนที่พวกเขาจะกลายเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

ไม่นานหลังจากนั้น ชิสุ ก็ถูกนำเข้าไปยังทวีปยุโรป ทั้งประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษ ซึ่งก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ด้วยรูปร่างลักษณะที่คล้ายกับตุ๊กตา สมาคม English kennel clubs จึงได้ขึ้นทะเบียนสายพันธุ์โดยใช้ชื่อว่าลาซา แอปโซ 

เข้าสู่ปี 1935 สุนัขสายพันธุ์ดังกล่าวก็ได้รับการพัฒนาจนมีลักษณะพิเศษเฉพาะสายพันธุ์ จากนั้นก็ได้รับการจดทะเบียนอีกครั้งในฐานะสายพันธุ์ชิสุ แยกออกมาจากสายพันธุ์ยุโรปอย่างเต็มตัว หลังจากนั้น พวกเขาก็ได้เดินทางไปยังอเมริกาโดยทหารที่เดินทางกลับจากยุโรป เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้พวกเขาได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก

คู่มือเลี้ยงดูสุนัขขนยาวสายพันธุ์ชิสุ เพื่อนตัวน้อยแสนน่ารัก

ชิสุ

หากมองเพียงผิวเผิน ชิสุ เป็นสุนัขที่ดูเหมือนจะเลี้ยงง่าย แต่ความจริงแล้ววิธีการเลี้ยงต้องอาศัยการดูแลเอาใจใส่ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว พวกเขาจะมีขนาดตัวที่เล็กกะทัดรัด มีน้ำหนักไม่เกิน 7.3 กิโลกรัม มีดวงตากลมโตเบ้าลึกสีดำสนิท ปากสั้น จมูกแบน เวลากินน้ำเลยมักจะเลอะไปทั้งหน้า ซึ่งควรเช็ดทำความสะอาดให้แห้งทุกครั้งเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา

โดยปกติแล้วพวกเขาจะขนยาว มีขนหนานุ่มเหมือนกับเส้นไหมปกคลุมร่างกายถึง 2 ชั้น เวลาเดินขนจึงมักจะลากไปตามพื้นและทำให้สกปรกได้ง่าย ใครที่ไม่อยากตัดขนพวกเขาก็ต้องทำใจแปรงขนเป็นประจำทุกวันและอาบน้ำเป็นประจำทุกสัปดาห์ 

หากใครที่ยอมรับได้ว่าเมื่อนำเอาสุนัขขนยาวสุดน่ารักเหมือนตุ๊กตาไปตัดขนแล้วเกิดปัญหาขนช็อต ขนไม่ยาวขึ้นมาอีกเลย แต่ทำความสะอาดง่าย ก็สามารถพาพวกเขาไปร้านตัดขนสุนัขได้เช่นกัน 

ชิสุ มีนิสัยที่ร่าเริงแจ่มใสและเต็มไปด้วยชีวิตชีวา พวกเขาเป็นมิตรกับทั้งสุนัขด้วยกันและมนุษย์ มีความกระตือรือร้นและชื่นชอบการสำรวจเป็นอย่างมาก ในขณะเดียวกันก็เป็นสุนัขที่มีสติ ใจเย็น อดทน และไม่ค่อยส่งเสียงเห่าสักเท่าไหร่ น้อยตัวที่จะพบว่ามีพฤติกรรมก้าวร้าว 

แต่ที่น่ากังวลที่สุดก็เห็นจะเป็นด้านสติปัญญา ที่พวกเขาถูกจัดอันดับให้เป็นสุนัขที่โง่ที่สุดสายพันธุ์ในโลกใบนี้ การจะฝึกพวกเขาให้จดจำคำสั่งง่าย ๆ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด

เปิดเคล็ดลับดูแลชิสุให้ขนสวย สุขภาพดี และร่าเริงแจ่มใส 

ชิสุ

สำหรับใครที่ตัดสินใจอยากจะเลี้ยงชิสุ เราก็ต้องดูแลพวกเขาให้ดีที่สุด เริ่มต้นจากการออกกำลังกาย พวกเขาเป็นสุนัขตัวเล็กที่ชอบเดิน แต่ไม่ชอบวิ่ง และไม่ได้ต้องการการออกกำลังกายมากนัก ขอเพียงแค่มีพื้นที่ให้ได้เดินเล่นในบ้าน หรือพาออกไปเดินตามสวนสาธารณะสักครึ่งชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว

แต่สิ่งที่ต้องระวังคือเรื่องอุณหภูมิร่างกาย เพราะเมื่ออากาศร้อนขึ้นอุณหภูมิในร่างกายจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจากขนที่ยาวของพวกเขา เวลาพาไปเดินเล่นจึงต้องสังเกตอาการอยู่เสมอว่า มีท่าทีจะเป็นโรคลมแดดหรือไม่ บริเวณที่อยู่อาศัยของพวกเขาก็ควรจะต้องมีอากาศที่ถ่ายเทและปลอดโปร่ง 

มีร่มเงาให้พวกเขาได้หลบแดดอยู่เสมอ และที่สำคัญคือต้องมีน้ำสะอาดติดเอาไว้ เพราะชิสุมีความเสี่ยงในการเป็นโรคลมแดดจนเสียชีวิตไม่แพ้สายพันธุ์อื่น ต่อมาที่ต้องใส่ใจคือเรื่องอาหาร พวกมันเป็นสุนัขตัวเล็กที่อ้วนง่ายมาก 

เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเผลอให้อาหารพวกเขามากเกินความจำเป็น เมื่อนั้นจะเป็นการทำร้ายพวกเขาโดยไม่รู้ตัวในทันที เราสามารถให้พวกเขากินได้อย่างเต็มที่เมื่อมีอายุ 1 เดือน หลังจากอายุ 3 เดือนถึง 1 ปีต้องเริ่มจำกัดอาหารให้พอดีกับสัดส่วนของร่างกาย

โดยคำนวณจากน้ำหนักตัว พวกเขาต้องการพลังงาน 35 กิโลแคลอรี่ต่อน้ำหนัก 0.45 กิโลกรัม เมื่ออายุมากขึ้นต้องลดปริมาณเหลือเพียงแค่ 30 กิโลแคลอรี่ หากคิดตามน้ำหนักมาตรฐาน 5 กิโลกรัม พวกเขาจะต้องการอาหารเพียงวันละประมาณ 320 กิโลแคลอรี่เท่านั้น

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ของเหล่าสัตว์โลกแสนรู้ได้ที่ Animalkingdom.me

บทความที่เกี่ยวข้อง

Leave a Comment