จักจั่น แมลงที่ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ยุคไทรแอสสิก 

by animalkingdom
169 views
จักจั่น

แมลงเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่อยู่ใกล้ตัวเราเป็นอย่างมาก แต่ถึงอย่างนั้นพวกเขากลับไม่ค่อยเป็นที่สนใจหรือได้รับความสำคัญสักเท่าไหร่ อย่าง จักจั่น ที่เราจะมาแนะนำกันในวันนี้ เข้าสู่ฤดูร้อนทีไรเรามักจะได้ยินเสียงร้องของพวกเขาอยู่เสมอ สำหรับคนไทยพวกเขาไม่ได้เป็นเพียงแค่แมลงธรรมดา แต่ยังเป็นอาหารได้อีกด้วย เรียกได้ว่ามีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่ 

รวมเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับจักจั่น 

จักจั่น

จักจั่น แมลงที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตคนไทยมาอย่างยาวนาน เราสามารถพบพวกเขาได้ตามบ้านเรือนทั่วไปตามปกติ แต่ทราบหรือไม่ว่าความจริงแล้วพวกเขาเป็นสัตว์โบราณ ที่ถือกำเนิดขึ้นมาตั้งแต่ประมาณ 230 ล้านปีก่อน หรือในยุคไทรแอสสิกกันเลยทีเดียว 

พวกเขาถูกจัดอยู่ในกลุ่มแมลงที่ใช้วิธีการกินอาหารด้วยการดูดน้ำเลี้ยงจากพืชหรือต้นไม้ ลักษณะการกินจึงมีความคล้ายคลึงกับแมลงหวี่ขาว เพลี้ย หรือครั่ง แต่หากเทียบเรื่องขนาดตัวแล้ว พวกเขาถือว่ามีขนาดใหญ่กว่ามาก 

นั่นก็เป็นเพราะว่าพวกเขาถูกจัดให้เป็นแมลงที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดจากแมลงทุกสายพันธุ์ในกลุ่มนี้นั่นเอง และพวกเขายังถูกจัดอยู่ในกลุ่มแมลงที่เคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย เนื่องจากพวกเขาสามารถกระโดดหรือบินได้รวดเร็วอย่างน่าเหลือเชื่อ 

รูปร่างลักษณะ 

จักจั่นเป็นแมลงที่มีขนาดตั้งแต่ 1 เซนติเมตร ไปจนถึงบางชนิดที่อาจมีขนาดใหญ่กว่า 10 เซนติเมตรได้เลยทีเดียว พวกเขาจะมีหนวดสั้น ๆ ที่เราแทบจะไม่สามารถมองเห็นได้ ลักษณะจะเหมือนกับปุ่มมากกว่าเป็นหนวด มีดวงตาเดี่ยวถึง 3 ดวง หัว ลำตัว และท้องของพวกเขาจะเชื่อมต่อเป็นส่วนเดียวกัน 

ปีกคู่หน้าจะมีขนาดความหนาเท่ากันตลอดทั้งแผ่น ส่วนปีกข้างในจะมีความบางใสที่ใช้ในการทำความเร็วระหว่างการบิน มีหลากหลายสีสัน แต่ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นสีน้ำตาลตั้งแต่น้ำตาลอ่อน น้ำตาลเทา น้ำตาลเข้ม ไปจนถึงสีดำ

วงจรชีวิต 

จักจั่น

จักจั่นจะเริ่มต้นจากการเป็นไข่โดยถูกวางเอาไว้บริเวณใต้เปลือกไม้เพื่อความปลอดภัย หลังฟักออกมาจากไข่ก็จะเป็นตัวอ่อนที่ใช้ชีวิตอยู่ใต้ดินเป็นหลัก พวกเขาจะดูดกินน้ำเลี้ยงของต้นไม้เป็นอาหารผ่านทางราก 

หลังจากนั้นก็จะเติบโตกลายเป็นตัวเต็มวัย เมื่อลอกคราบแล้วพวกเขาก็จะย้ายจากใต้ดินขึ้นมาอยู่ตามต้นไม้เพื่อดูดกินน้ำเลี้ยงเป็นอาหาร 

การส่งเสียงของจักจั่น

จักจั่น

เสียงจักจั่นสำหรับหลาย ๆ คนเป็นสัญลักษณ์ของฤดูร้อนก็ว่าได้ เนื่องจากเข้าสู่ฤดูร้อนทีไร เราก็มักจะได้ยินเสียงร้องระงมของพวกเขากันทุกที แต่ทราบหรือไม่ว่าความจริงแล้วมีเพียงแค่ตัวผู้เท่านั้นที่สามารถส่งเสียงได้ แถมยังส่งเสียงได้ดังถึง 200 เดซิเบลอีกด้วย 

ในขณะที่ตัวเมียไม่สามารถส่งเสียงได้แต่อย่างใด จากการศึกษาพบว่าการทำเสียงของพวกเขานั้นเกิดจากการหาคู่ เสียงของพวกเขาไม่ต่างอะไรจากลักษณะหน้าตาหรือความสามารถสำหรับมนุษย์ ดังนั้นคุณภาพเสียงของตัวผู้จึงสามารถบ่งบอกได้ว่า พวกเขามีร่างกายที่แข็งแกร่งมากแค่ไหน 

แต่จะดังอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีท่วงทำนองและความไพเราะด้วย ด้วยเหตุนี้ในช่วงฤดูร้อนซึ่งเป็นช่วงฤดูผสมพันธุ์ พวกเขาจึงมักจะส่งเสียงกันระงมจนหนวกหู นั่นก็เป็นเพราะว่าตัวผู้พยายามแสดงศักยภาพให้ตัวเมียได้เห็นถึงความสามารถของตนเองและเกิดความรู้สึกพึงพอใจนั่นเอง 

หลังจากนั้นตัวเมียก็จะเลือกตัวผู้ที่พึงพอใจที่สุดเพื่อทำการผสมพันธุ์ เป็นพฤติกรรมสัตว์ที่ค่อนข้างน่ารักไม่น้อยเลยทีเดียว นอกจากการส่งเสียงเพื่อใช้หาคู่ของจักจั่นแล้ว พวกเขายังสามารถทำเสียงอื่นสำหรับการใช้ในเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อีกด้วย อย่างเช่น

การทำเสียงขู่เวลาที่มีภัยคุกคามที่ทำให้พวกเขารู้สึกไม่ปลอดภัย ทำเสียงพึงพอใจ หรือแม้แต่เสียงคัดค้านเพื่อแสดงความไม่พอใจ แต่ที่น่าสนใจก็คือเสียงของพวกเขาไม่ได้มาจากเส้นเสียงแต่อย่างใด นั่นก็เป็นเพราะว่า แมลงไม่มีกล่องเสียงและเส้นเสียง 

พวกเขาใช้กล้ามเนื้อบริเวณช่องท้องที่มีซี่โครงเรียงกันเป็นแนวขวาง 4 อัน และมีปลายเชื่อมต่อกับแผ่นที่เป็นรูปไข่ที่เชื่อมต่อกับกล้ามเนื้ออีกทีหนึ่ง เวลาที่ทำให้กล้ามเนื้อตรงส่วนนี้หดตัวซี่โครงก็จะขยับตามไปด้วย แผงรูปไข่ที่ติดอยู่ก็จะขยับจนเกิดเสียงขึ้นมา 

ทำให้พวกเขาสามารถผลิตเสียงได้ถึง 120 Hz ต่อข้าง เสียงจะส่งต่อผ่านทางถุงลมที่มีขนาดใหญ่และมีความจุถึง 70% ของช่องท้องและส่งผ่านไปยังเยื่อแก้วหูเพื่อทำการควบคุมหรือการขยายเสียง 

นอกจากนี้พวกเขายังมีอวัยวะที่สามารถใช้ปรับแต่งเสียงเพื่อให้ได้เสียงที่มีคุณภาพมากที่สุดก่อนปล่อยเสียงออกไปได้อีกด้วย หน้าเหลือเชื่อเป็นอย่างมากที่ท้องเล็ก ๆ ความจุเพียงแค่ 1.8 มิลลิลิตร กลับสามารถสร้างเสียงดังกระหึ่มได้ถึง 200 เดซิเบล 

ว่านจักจั่น จากแมลงสู่การเป็นของศักดิ์สิทธิ์

จักจั่น

จักจั่น นอกจากจะเป็นอาหารและเป็นแมลงที่พบได้ทั่วไปในประเทศไทยแล้ว พวกเขายังมีความเกี่ยวข้องเกี่ยวกับความเชื่ออีกด้วย นั่นก็คือสิ่งที่เรียกว่า ว่านจักจั่น นั่นเอง มันเป็นซากพืชหรือซากแมลงที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ ว่านต่อเงินต่อทอง เป็นทั้งพืชและสัตว์ที่มีลักษณะเป็นของมงคล 

จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับมักกะลีผลในป่าหิมพานต์ เป็นของหายากที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มมูเตลู หากใครมีครอบครองเอาไว้เป็นเครื่องราง ก็จะทำให้ชีวิตเป็นสิริมงคลและได้รับแต่ความโชคดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการงาน การเจรจาต่อรอง การเสี่ยงโชคเสี่ยงดวง 

ไม่เพียงเท่านั้น ว่านดังกล่าวยังสามารถใช้เป็นสมุนไพรในการรักษาโรคได้อีกด้วย โดยการนำเอาว่านไปต้มกับน้ำแล้วดื่มน้ำเข้าไป สรรพคุณจะสามารถบรรเทาอาการหรือแม้แต่รักษาโรคร้ายให้หายได้ โดยเฉพาะโรคที่แพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถรักษาได้หรือทำได้เพียงแค่ประคองอาการ 

ว่านดังกล่าวจึงกลายมาเป็นความหวังของผู้ป่วยที่ต้องการจะกลับมามีร่างกายแข็งแรง แต่ในความเป็นจริงแล้วมันอันตรายเป็นอย่างมาก นั่นก็เป็นเพราะว่า ว่านจักจั่นเกิดขึ้นโดยเชื้อราที่ทำลายตัวแมลง ขยายพันธุ์ด้วยการปล่อยสปอร์ที่หากรับประทานหรือแม้แต่แค่สูดดมเข้าไป ก็สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ 

ด้วยเหตุนี้มันจึงเป็นสิ่งที่เราไม่ควรรับประทานแต่อย่างใด ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม หรือแม้แต่การพกพาเอาไว้บูชาก็ยังไม่สมควร เพราะสปอร์เชื้อราเป็นสิ่งที่สามารถลอยตามอากาศได้ หากสูดดมเข้าไปก็สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายของเราได้เช่นเดียวกัน 

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ว่านจักจั่น

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ เกี่ยวกับสัตว์โลกแสนรู้ได้ที่ Animalkingdom.me

บทความที่เกี่ยวข้อง

Leave a Comment