เอดส์แมว โรคที่จะทำให้แมวมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง 

by animalkingdom
360 views
โรคเอดส์แมว

แมวเป็นสัตว์ที่ได้รับความนิยมในการนำเอามาเลี้ยงเป็นอย่างมาก แต่วัฒนธรรมการเลี้ยงแมวในประเทศไทยนั้นมีทั้งระบบเปิดและระบบปิด ทำให้พวกมันมีความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคเอดส์แมวค่อนข้างสูงเลยทีเดียว โดยเฉพาะสำหรับคนที่เลี้ยงในระบบเปิด ซึ่งทำให้แมวนั้นมีโอกาสไปติดเชื้อโรคจากแมวตัวอื่นนอกบ้านได้ง่าย หรือไม่บางครั้งมันก็อาจจะติดต่อกันมาผ่านทางพันธุกรรม โดยที่เราไม่ได้รู้ตัวก่อนที่จะรับมาเลี้ยง โรคดังกล่าวนั้นเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็มีวิธีการป้องกันเช่นเดียวกัน วันนี้ Animalkingdom จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคดังกล่าวให้มากขึ้นกัน

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่ 

ทำความรู้จักกับโรคเอดส์แมว โรคอันตรายที่ทำให้ภูมิคุ้มกันของแมวบกพร่อง

โรคเอดส์แมว

เอดส์แมว เป็นโรคอันตรายที่นับว่าเป็นฝันร้ายของสัตว์เลี้ยงอย่างแมวไม่น้อยเลยทีเดียว อาการของโรคดังกล่าวนั้นจะคล้ายคลึงกับการติดเชื้อ HIV ในมนุษย์ เชื้อไวรัสดังกล่าวนั้นจะทำให้แมวมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง พวกเขาจึงไม่สามารถทำการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกายขึ้นมาได้ตามปกติ เพื่อป้องกันการเกิดโรคจากการสัมผัสกับสิ่งแปลกปลอมทั้งหลาย ในสิ่งแวดล้อมของพวกเขาได้เท่ากับแมวปกติ แต่อย่างไรก็ตามหากเจ้าของดูแลเป็นอย่างดี พวกเขาก็สามารถมีอายุยืนยาวต่อไปได้อีกนานเช่นเดียวกัน โรคดังกล่าวนั้นนับเป็นโรคติดต่อที่สามารถติดจากแมวตัวหนึ่งไปยังแมวอีกตัวหนึ่งได้ คนที่เลี้ยงแมวระบบเปิดจึงมีความเสี่ยงที่แมวจะติดโรคดังกล่าวมาจากแมวตัวอื่นนอกบ้านมากกว่าคนที่เลี้ยงระบบปิด ไม่จำเป็นต้องติดต่อการผ่านทางเพศสัมพันธ์สำหรับโรคนี้ เพราะแค่การกัดหรือข่วนกันจนมีบาดแผลและมีการสัมผัสสารคัดหลั่งอย่างเช่น เลือดหรือน้ำลายของแมวที่ป่วย ก็ทำให้พวกเขาสามารถติดเชื้อและป่วยเป็นโรคดังกล่าวได้เช่นเดียวกัน 

โรคเอดส์แมว

ส่วนใหญ่แล้วโรคดังกล่าวนั้นจะพบมากในแมวเพศผู้ที่ยังไม่ทำหมัน มีนิสัยก้าวร้าว ชอบออกไปเที่ยวนอกบ้านอยู่เสมอ เพราะพวกเขามีโอกาสในการพบกับแมวที่ติดเชื้อมากกว่า ในขณะที่แมวที่ถูกเลี้ยงในระบบปิดนั้นจะมีอัตราการพบเชื้อค่อนข้างน้อย แต่ในขณะเดียวกันนั้น โรคดังกล่าวยังสามารถติดต่อในสัตว์เลี้ยงทางอื่นได้เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อกันผ่านทางเพศสัมพันธ์หรือจากแม่สู่ลูก แต่ไม่ต้องกังวลไปเพราะอัตราการติดเชื้อจากสาเหตุเหล่านี้เกิดขึ้นได้ค่อนข้างน้อย เพราะมันไม่ใช่โรคทางพันธุกรรม และขอแสดงความยินดีด้วยสำหรับคนที่กำลังกังวลว่า เชื้อไวรัสดังกล่าวจะสามารถติดจากสัตว์เลี้ยงสู่คนได้หรือไม่ เพราะเชื้อไวรัสดังกล่าวไม่สามารถติดต่อสู่คนได้แต่อย่างใด จะติดกันเฉพาะสัตว์ตระกูลแมวเท่านั้น 

โรคเอดส์แมว

อาการที่เกิดขึ้นนั้นจะมีตั้งแต่เป็นไข้ ซูบผอม มีอาการเบื่ออาหาร ไม่ร่าเริงและเซื่องซึม ประมาณ 50% ของสัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อดังกล่าวนั้น จะมีอาการอักเสบของเยื่อเมือกและเหงือกภายในช่องปาก อีก 30% จะพบว่าเยื่อตา กระจกตา และจมูกมีการอักเสบ ในอีก 20% จะพบว่าพวกเขานั้นมักถ่ายเหลวอย่างต่อเนื่อง พวกเขาจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากเดิมซึ่งเป็นอาการทางระบบประสาทอย่างเช่น การเดินวนไปมา มีพฤติกรรมก้าวร้าว กระวนกระวายผิดปกติ เป็นเพราะว่าพวกเขานั้น ไม่สามารถมองเห็นและได้ยินเหมือนเดิมได้อีกต่อไป และเส้นประสาทบริเวณฝ่าเท้ารวมไปถึงขายังเกิดความผิดปกติอีกด้วย บางตัวอาจเกิดอาการอักเสบบริเวณม่านตา ซึ่งอาจรุนแรงจนทำให้ความดันในลูกตาพุ่งสูง ก่อให้เกิดปัญหาการเป็นต้อหินตามมาในอนาคตได้ ต่อมน้ำเหลืองจะขยายขนาดใหญ่มากขึ้นกว่าเดิม มีโรคแทรกซ้อนมากมายอย่างเช่น ไตเรื้อรัง ติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราบริเวณตา ผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจส่วนต้น และในกระเพาะปัสสาวะ 

โดยอาการที่เกิดขึ้นกับพวกเขานั้น จะขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันและอายุของแมวแต่ละตัว บางตัวอาจป่วยแต่ก็ไม่มีการแสดงอาการออกมา จนทำให้เราเข้าใจว่าพวกเขาสุขภาพดีเป็นปกติ ในขณะที่บางตัวก็อาจจะมีอาการเพียงแค่เล็กน้อยเท่านั้น แต่มันก็เป็นเพียงแค่อาการเบื้องต้น เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เชื้อดังกล่าวไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันจนลดต่ำ ก็จะทำให้พวกเขาอาการแย่ลงอย่างรวดเร็วและจากเราไปในที่สุด

วิธีการรักษาเมื่อแมวป่วยเป็นโรคเอดส์แมวและวิธีการป้องกัน 

โรคเอดส์แมว

หากคุณพบว่าแมวของคุณป่วยเป็นโรคเอดส์แมว เราต้องพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยด่วน เริ่มต้นจากการเลี้ยงพวกเขาด้วยระบบปิด ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีความเครียด ทำหมันเพื่อป้องกันการติดเชื้อไปยังสัตว์เลี้ยงตัวอื่น ให้อาหารที่มีคุณภาพและเหมาะสม พาพวกเขาไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุก 6 เดือน สำหรับวิธีการป้องกันนั้นก็มีมากมาย ตั้งแต่การเลี้ยงแมวในระบบปิด เพื่อป้องกันไม่ให้พวกเขาได้มีโอกาสไปเจอกับแมวที่ติดเชื้อนอกบ้าน 

หากมีแมวตัวไหนติดเชื้อและเราเลี้ยงหลายตัว ก็ให้แยกระหว่างตัวที่ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อออกจากกัน ก่อนนำแมวเข้าบ้านต้องพาไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจดูโรคติดต่ออยู่เสมอ หากนำเอาแมวตัวใหม่เข้ามาอยู่ในบริเวณที่มีแมวตัวเก่าที่มีอาการป่วยเคยอยู่ ให้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อทุกอย่างให้เรียบร้อย พร้อมทั้งพาแมวตัวใหม่ไปทำวัคซีนเพื่อป้องกันโรค เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันให้พวกเขาปลอดภัยจากโรคดังกล่าวได้มากขึ้นแล้ว

บทความที่เกี่ยวข้อง

Leave a Comment