หากพูดถึงท้องทะเล เชื่อว่าหลาย ๆ คนก็คงจะนึกถึงสัตว์ทะเล สัตว์น้ำที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป จนทำให้ไม่คาดคิดว่า มีบางสายพันธุ์ที่กำลังจะสูญพันธุ์จากโลกใบนี้ไป ซึ่งเต่าทะเลก็คือหนึ่งในสัตว์ทะเลที่อยู่ในภาวะเสี่ยงสูญพันธุ์ด้วยเช่นกัน จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทำให้พื้นที่หากินของพวกเขาเปลี่ยนแปลง และจากพฤติกรรมของมนุษย์ ที่ส่งผลต่อพวกมันโดยตรง วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับสัตว์ทะเลสายพันธุ์นี้กัน เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญและหันมาช่วยกันอนุรักษ์พวกเขา ให้อยู่กับโลกใบนี้ไปอีกยาวนาน
ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่
ทำความรู้จักกับเต่าทะเล สัตว์ที่อาศัยอยู่ได้ทั้งในทะเลและบนหาดทราย
เต่าทะเลในสายตาหลายคนอาจจะมองว่าเป็นสัตว์น้ำ เพราะพวกเขาใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในท้องทะเล แต่ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขาก็ยังคงคุณลักษณะแบบสัตว์เลื้อยคลานธรรมดาทั่วไปอยู่เช่นกัน มาพร้อมกับกระดองซึ่งเป็นเกล็ดแข็งปกคลุมร่างกายส่วนหลัง หน้าอก และหน้าท้อง ส่วนที่ยื่นออกมาจากกระดองมีเพียงแค่หัว คอ ขาทั้ง 4 ข้าง และหางสั้น ๆ ของพวกเขาเท่านั้น
กระดูกสันหลังของเต่าทะเลจะอยู่ติดกับกระดองเหมือนกับเต่าน้ำจืดทั่วไป แต่ความแตกต่างระหว่างเต่าที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดก็คือ พวกมันอาศัยอยู่บนบกเป็นหลัก และที่อาศัยอยู่ในทะเลก็คือสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในทะเลเป็นหลัก
เต่าทะเลมีการวิวัฒนาการลักษณะรูปทรงให้มีความเรียว รี หรืออาจจะกลายเป็นรูปหัวใจ เพื่อให้เหมาะกับการแหวกว่ายในท้องทะเล ทั้งหัวและขาจะไม่สามารถหดกลับเข้าไปในกระดองได้ ขาหน้าและขาหลังได้รับการวิวัฒนาการจนมีลักษณะแบนเหมือนกับครีบ
ในขณะเดียวกัน มันก็ช่วยให้พวกเขาสามารถเคลื่อนที่บนพื้นทรายได้อย่างสะดวกสบาย มาพร้อมกับลำไส้ที่มีขนาดใหญ่พิเศษ ทำให้สามารถย่อยอาหารได้ดีและมีไขมันในร่างกาย เพื่อสร้างความอบอุ่นตามแบบฉบับสัตว์เลือดเย็นทั่วไป
เต่าทะเลจะใช้ขาคู่หน้าในการผลักดันตัวและพุ้ยน้ำ ส่วนขาหลังจะทำหน้าที่เหมือนกับหางเสือคอยกำหนดทิศทางว่าจะไหว้ไปทางไหน ที่สำคัญพวกเขาไม่ได้เชื่องช้ายืดยาดเหมือนกับพวกเต่าบก เพราะบางสายพันธุ์สามารถทำความเร็วในการว่ายน้ำได้สูงถึง 35 ไมล์ต่อชั่วโมงเลยทีเดียว และยังมีความแข็งแรงทนทานมากพอที่จะว่ายน้ำข้ามมหาสมุทรด้วยระยะทางเป็นร้อยไมล์ได้อีกด้วย
เต่าทะเลทุกสายพันธุ์ได้รับการวิวัฒนาการร่างกายมา เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และธรรมชาติยังฉลาดมากพอที่จะปรับให้พวกเขากินอาหารที่แตกต่างกันออกไป เต่าทะเลสามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ เพียงแต่ว่าในแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีอาหารที่ชื่นชอบไม่เหมือนกัน เพื่อป้องกันการแก่งแย่งอาหารในถิ่นธรรมชาตินั่นเอง
กระดองของพวกเขาสามารถแปรเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อมได้ ปัจจุบันสถานที่อยู่อาศัยของพวกเขาสามารถพบได้ทั่วไปทั้งในทะเลและมหาสมุทรทั่วโลก ยกเว้นเฉพาะบริเวณมหาสมุทรใต้เพียงเท่านั้น
พฤติกรรมการวางไข่
หนึ่งในพฤติกรรมที่โดดเด่นมากที่สุดสำหรับเต่าทะเลก็คือ พฤติกรรมการวางไข่ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะเป็นสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในน้ำเป็นหลัก แต่พวกเขากลับขึ้นมาวางไข่บนบก ในแต่ละปี เต่าทะเลที่โตเต็มวัยจะออกเดินทางไปผสมพันธุ์ตามจุดต่าง ๆ ทั่วทั้งมหาสมุทร
โดยตัวผู้จะขึ้นไปขี่หลังตัวเมียและกัดคอตัวเมียไม่ให้ดิ้นหลุด จากนั้นก็จะทำการกระทำการปฏิสนธิ ตัวเมียที่ได้รับน้ำเชื้อเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็จะตั้งท้องและรอเวลาเพื่อวางไข่ เมื่อถึงเวลาพวกเขาก็จะขึ้นมาบนชายหาด จากนั้นขุดทรายให้เป็นหลุมแล้ววางไข่ลงไปในนั้น
โดยส่วนใหญ่แล้วพวกเขาจะวางไข่เฉพาะในตอนกลางคืน แต่ก็มีสายพันธุ์เต่าหญ้าแอตแลนติกที่ขึ้นมาวางไข่ในตอนกลางวัน และโดยปกติแล้วเต่าตัวเมียมักจะกลับมาวางไข่บนชายหาดที่ตนเองเกิดเสมอ ไม่ว่าก่อนหน้านี้จะอยู่ที่ไหนบนโลกก็ตาม ซึ่งเชื่อกันว่า เต่าทะเลสามารถกลับมายังจุดเดิมที่พวกเขาเกิดได้ ด้วยการตรวจจับสนามแม่เหล็ก
หลังจากที่ตัวเมียโผล่พ้นน้ำก็จะเคลื่อนที่ไปตามหาดทรายเพื่อหาบริเวณที่เหมาะสม พื้นที่วางไข่ที่ดีจะต้องไม่มีแสงรบกวน หากพบว่ามีสิ่งรบกวนหรือดูไม่ปลอดภัย พวกเขาก็จะกลับลงทะเลโดยที่ไม่วางไข่เลยแม้แต่ฟองเดียว
หลังจากหาพื้นที่ที่เหมาะสมได้แล้ว เต่าทะเลจะใช้ขาหลังขุดทรายให้กลายเป็นหลุมอย่างระมัดระวัง จากนั้นก็จะวางไข่ประมาณ 2-3 ครั้ง แล้วแต่ตัว ในระหว่างการวางไข่พวกมันมักจะมีของเหลวไหลออกมาจากดวงตาเสมอ เพื่อรักษาความชื้นและป้องกันไม่ให้ทรายเข้าตา
เมื่อวางไข่เรียบร้อยก็จะทำการกลบหลุมและทุบทรายจนแน่น ทำให้สังเกตได้ยากว่าพวกมันวางไข่ในตำแหน่งไหนบ้าง ตัวเมียจะวางไข่เป็นประจำทุกสัปดาห์จนกว่าจะหมดทั้งท้อง แต่ละตัวสามารถวางขายได้เป็นจำนวนกว่า 1,000 ฟองเลยทีเดียว
เต่าทะเล สัตว์ที่กำลังประสบกับวิกฤตการณ์สูญพันธุ์
จากข้อมูลข้างต้น หลายคนคงคิดว่า เต่าทะเลสามารถขยายเผ่าพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว มันจึงอาจจะเป็นสัตว์อีกสายพันธุ์หนึ่งที่สามารถเอาชีวิตรอดท่ามกลางความเสี่ยงสูญพันธุ์ของสัตว์หลาย ๆ ชนิดได้อย่างแน่นอน แต่มีความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น
พวกเขามีความเสี่ยงจะจากโลกใบนี้ไปตั้งแต่ตอนที่เป็นไข่ หากบริเวณที่วางไข่มีปัญหาน้ำท่วม ฝนตกหนัก อุณหภูมิภายในหลุมจะส่งผลกระทบต่อเพศของพวกเขา หากอุณหภูมิข้างในหลุมสูงกว่าหรือเท่ากับอุณหภูมิภายนอกก็จะฟักออกมาเป็นตัวเมีย หากอุณหภูมิในหลุมต่ำกว่าภายนอกก็จะกลายเป็นเพศผู้
ในขณะเดียวกันเต่าทะเลตัวน้อยเหล่านี้เมื่อฟักออกมาแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นเหยื่อของสัตว์มากมายทั้งบนบกและในทะเล ในจังหวะที่พวกเขาฟักฟักออกจากไข่แล้วคลานลงทะเล เป็นจังหวะที่เสี่ยงต่อการตายมากที่สุด นอกจากนี้ในช่วงแรกพวกเขายังใช้ชีวิตในท้องทะเลได้ไม่นานสักเท่าไหร่ เพราะว่ายน้ำไม่ค่อยแข็ง ยังไม่รู้วิธีหลบหลีกศัตรู
แต่ปัญหาใหญ่ที่สุดที่ทำให้เต่าทะเลกลายเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ก็คือ มนุษย์อย่างเราเอง พวกเขามักจะเป็นเหยื่อการประมงโดยบังเอิญอยู่เสมอ ซึ่งบางคนก็ตั้งใจจับพวกเขาไปทำเครื่องประดับหรือไปทำสัตว์สตัฟฟ์ ไข่ก็มักจะถูกขุดขึ้นมาเพื่อรับประทาน บ้างก็เอาไปเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง
ทำให้ปริมาณประชากรของเต่าทะเลลดลงอย่างต่อเนื่องจนน่าใจหาย ยังไม่รวมถึงสภาพแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบัน เต่าทะเลเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และทางภาครัฐก็พยายามอนุรักษ์พวกเขาอย่างเต็มที่ เพื่อให้พวกเขายังคงมีชีวิตอยู่ในน่านน้ำทะเลไทยต่อไปนั่นเอง
ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ เกี่ยวกับสัตว์โลกแสนรู้ได้ที่ Animalkingdom.me