งูกะปะ พิษร้ายทำลายระบบเลือด

by animalkingdom
199 views
งูกะปะ

อย่างที่เราทราบกันดีว่า สัตว์แต่ละชนิดมักจะมีรูปลักษณ์ที่เป็นเอกลักษณ์ แต่ในขณะเดียวกัน พวกมันก็มักจะมีฝาแฝดด้วยเช่นกัน ซึ่งงูกะปะก็เป็นงูที่มีฝาแฝดกับเขาด้วย พวกมันมักหลบซ่อนอยู่ในมุมที่ปลอดภัย มากกว่าที่จะเลื้อยไปไหนมาไหนให้เราได้เห็นตัว ทำให้เหยื่อส่วนใหญ่รู้ตัวอีกทีว่ามีพวกมันอยู่ก็เมื่อถูกกัดไปแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นงูพิษอีกสายพันธุ์ที่เป็นอันตรายเป็นอย่างมาก

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่ 

ทำความรู้จักกับงูกะปะ งูพิษที่กระจายสายพันธุ์ทั่วทั้งประเทศไทย 

งูกะปะ

งูกะปะ สัตว์เลื้อยคลานที่อยู่ในวงศ์งูแมวเซา พวกมันเป็นงูเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุลของตนเองโดยที่ไม่มีสายพันธุ์แยกย่อย หากมองจากรูปลักษณ์ภายนอก พวกมันไม่ได้มีลักษณ์เหมือนกับสัตว์นักล่าเลยแม้แต่น้อย เนื่องจากลำตัวที่อวบอ้วนและไม่ยาว มีหางที่เรียวและสั้นจนแทบจะรู้ว่ามันคือหาง

สิ่งที่โดดเด่นมากที่สุดของงูกะปะก็คือ หัวที่มีรูปทรงเป็นสามเหลี่ยมเหมือนกับหัวลูกศร บริเวณท้ายทอยของพวกมันจะพองออกมาจนเป็นก้อนซึ่งมันคือส่วนที่เอาไว้เก็บพิษ ตามลำตัวมีลวดลายทรงสามเหลี่ยมคล้ายกับหลังคาบ้านตลอดทั้งตัวโดยเฉพาะบริเวณสันกลางของลำตัว 

นอกจากนี้ยังมีสันที่ยกสูงขึ้นเล็กน้อย ใกล้เคียงกับลักษณะของงูสามเหลี่ยมอีกด้วย สีตามลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลอมชมพู ลวดลายเป็นสีน้ำตาลเข้ม และสิ่งที่ทำงูกะปะแตกต่างจากงูแมวเซาก็คือ พวกมันจะมีเกล็ดที่มีขนาดใหญ่กว่าและจะงอยปากจะเชิดขึ้น

งูกะปะ

โดยปกติแล้วงูกะปะเป็นสัตว์กินเนื้อที่มักจะออกหากินในช่วงพลบค่ำเป็นต้นไปจนถึงช่วงเกือบเช้า ตอนกลางวันพวกเขามักจะหลบซ่อนตัวอยู่ในเศษใบไม้หรือใต้โพรงดิน ด้วยเหตุนี้คนที่ทำไร่ทำสวนจึงมักจะมองไม่เห็นพวกมันและไม่ทันระวัง 

พวกมันเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยโจมตีมนุษย์ก่อนและไม่มีการขู่ก็จริง แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่เราไปเข้าใกล้พวกเขาขณะที่พวกเขากำลังหลบซ่อนอยู่ พวกเขาก็จะตอบโต้ด้วยกันกัดในทันที หลายคนจึงมักจะถูกพวกเขากัดโดยไม่ทันรู้ตัว ช่วงเวลาที่ต้องระวังงูกะปะมากที่สุดก็คือ ช่วงที่ความชื้นในอากาศสูง 

ในบางครั้งพวกมันจะออกหากินในช่วงกลางวันด้วยเช่นกัน ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาหลังฝนตก พวกมันไม่ค่อยปราดเปรียวหรือเคลื่อนที่ด้วยความคล่องแคล่วว่องไว เวลาที่ตกใจก็มักจะหดตัวอยู่นิ่ง ๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังสามารถฉกกัดได้อย่างรวดเร็วเป็นอย่างมาก

เหยื่อของงูกะปะส่วนใหญ่จะเป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็กอย่าง นก หนู กิ้งก่า หรือตุ๊กแก ในการขยายพันธุ์ หลังจากที่ผสมพันธุ์เสร็จแล้วก็จะวางไข่ครั้งละประมาณ 10 ฟองไปจนถึง 50 ฟอง ขึ้นอยู่กับอายุ ขนาด และร่างกายของแม่พันธุ์ว่าสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน ซึ่งพวกมันสามารถผสมและระหว่างไข่ได้ทุกฤดูกาล

ถิ่นที่อยู่อาศัย 

งูกะปะ

งูกะปะ เป็นงูที่สามารถพบได้ทั่วไปในภูมิภาคอินโดจีนยาวไปจนถึงแหลมมลายู พวกมันเป็นงูพิษไทยที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี เพราะในประเทศไทยเราสามารถพบได้ในทุกภูมิภาค แต่บริเวณที่สามารถพบเจอได้บ่อยและมีจำนวนมากที่คือทางภาคใต้ 

พวกมันมักหลบซ่อนอยู่ตามสวนปาล์มน้ำมันหรือสวนยางพารา ตามพุ่มไม้ เศษใบไม้ และกอหญ้า อีกทั้งยังมีลวดลายที่กลมกลืนกับพื้นที่เป็นอย่างมาก นั้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้คนไทยถูกพวกมันกัดบ่อยไม่แพ้งูพิษสายพันธุ์อื่น 

สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อโดนงูกะปะกัดและวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น 

งูกะปะ

งูกะปะเป็นสัตว์มีพิษที่อันตรายเป็นอย่างมาก พิษของพวกเขาจะเข้าโจมตีระบบเลือดโดยตรง หลังจากที่โดนกัดแล้วพิษก็จะทำให้เลือดแข็งตัวได้ยาก ทำให้แผลที่โดนกัดจะมีเลือดไหลออกมาไม่หยุด เป็นลักษณะพิษที่สามารถสร้างความเจ็บปวดได้มากกว่าพิษที่ออกฤทธิ์กับระบบประสาทเป็นเท่าตัวเลยทีเดียว 

หากได้รับเซรุ่มไม่ทันก็อาจจะทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย หลังจากที่โดนงูกะปะกัดภายใน 10 นาที บริเวณโดยรอบของบาดแผลก็จะบวมขึ้นอย่างรวดเร็ว และจะบวมเป่งในระยะเวลาเพียง 1 ชั่วโมง ตรงรอยเขี้ยวจะมีเลือดไหลออกมาไม่หยุด

หลังจากนั้นอวัยวะที่ถูกกัดก็จะกลายเป็นสีเขียวคล้ำ ตามผิวหนังจะเริ่มมีน้ำใส ๆ ไหลออกมาก่อนจะกลายเป็นเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษา เนื้อบริเวณที่โดนกัดจะเน่าภายในไม่กี่วัน ผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีดำคล้ำ อวัยวะภายในจะเริ่มมีเลือดออกโดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร และในที่สุดเราจะเสียชีวิตจากปัญหาความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากเสียเลือดมาก นั่นเอง

งูกะปะ

เพราะฉะนั้นหลังจากที่เราโดนงูกะปะกัดไปแล้ว ต้องปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี เริ่มต้นจากการล้างแผลด้วยสบู่อ่อน ๆ และน้ำ จากนั้นให้พยายามบีบเลือดออกจะแผลให้มากที่สุด แต่ห้ามกรีดแผลหรือใช้ปากดูดโดยเด็ดขาด แล้วนำเอาผ้าสะอาดกดแผลเพื่อห้ามเลือด หรือจะใช้เบตาดีนทาเพื่อฆ่าเชื้อก่อนก็ได้เช่นกัน ขยับอวัยวะที่โดนกัดให้น้อยที่สุด จากนั้นให้รีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ เกี่ยวกับสัตว์โลกแสนรู้ได้ที่ Animalkingdom.me

บทความที่เกี่ยวข้อง

Leave a Comment