งูทับสมิงคลา งูลายขาวดำที่คนมักสับสนกับงูสายพันธุ์อื่น 

by animalkingdom
152 views
งูทับสมิงคลา

บนโลกของเรา สัตว์หลายสายพันธุ์มีความคล้ายคลึงกัน ทั้งรูปร่างและหน้าตา ทำให้ยากที่จะแยกแยะสายพันธุ์ เช่นเดียวกับงูทับสมิงคลา งูที่ในบางครั้งหลายคนเข้าใจผิด คิดว่าพวกเขาคืองูสามเหลี่ยม แต่ความจริงแล้ว เราสามารถแยกแยะพวกเข้าออกจากกันได้อย่างง่ายดายด้วยสีสันที่ปรากฏอยู่บนตัว นอกจากนี้เราจะสามารถแยกงูทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ออกจากกันได้อย่างไร และพวกมันจะมีความน่าสนใจขนาดไหน ไปทำความรู้จักกับงูสายพันธุ์นี้พร้อมกันกับเราได้เลย

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เพิ่มเติมได้ที่นี่ 

ทำความรู้จักกับงูทับสมิงคลา อสรพิษที่ต้องระวังเอาไว้ให้ดี

งูทับสมิงคลา

งูทับสมิงคลา งูที่หลาย ๆ คนจำสับสนกับงูสามเหลี่ยม พวกมันมีพิษที่ถือว่าอันตรายเป็นอย่างมาก เพราะพิษของงูทับสมิงคลาจะส่งผลกระทบต่อระบบประสาทโดยตรง เช่นเดียวกันกับงูเห่าหรืองูจงอาง เมื่อโดนกัดแล้วจะไม่ค่อยรู้สึกเจ็บปวดบริเวณแผล 

ถึงจะไม่ค่อยรู้สึกเจ็บเมื่อถูกกัดและดูไม่ค่อยมีพิษสง แต่พิษนั้นมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก หากรักษาไม่ทันหรือปฐมพยาบาลไม่ถูกต้อง คนที่โดนกัดอาจเสียชีวิตได้ภายใน 15 นาที เพราะพิษของงูทับสมิงคลาจะทำให้ระบบกล้ามเนื้อทั่วร่างกายล้มเหลว ไม่เว้นแม้กระทั่งกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับระบบหายใจ 

ที่น่ากลัวไปกว่านั้นก็คือ พิษของพวกเขามีโมเลกุลที่ค่อนข้างเล็ก ทำให้มันสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและส่วนต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วทันใจสุด ๆ 

งูทับสมิงคลาเป็นสัตว์นักล่าที่มีขนาดตัวค่อนข้างใหญ่โต สามารถมีความยาวลำตัวได้ถึง 1 เมตรเลยทีเดียว หัวจะมีลักษณะแบน ยาว ขนาดไม่ต่างจากลำตัวสักเท่าไหร่ ดวงตาขนาดเล็กสีดำกลืนไปกับสีเกล็ดจนแทบมองไม่เห็น 

บริเวณกลางหลังของงูทับสมิงคลาจะเป็นสันขึ้นมาคล้ายงูสามเหลี่ยม แต่ไม่ได้สูงจนสังเกตเห็นได้ชัดเหมือนกับงูสามเหลี่ยม บริเวณปลายหางของพวกเขาจะเล็กเรียวและสั้น เกล็ดท้องจะขยายกว้างมากกว่าเกล็ดบนลำตัว โดยส่วนใหญ่จะมีสีขาวสลับดำคล้ายกับทางม้าลาย มีบ้างในบางตัวที่เป็นสีเหลืองสลับดำ 

งูทับสมิงคลา

งูทับสมิงคลา มักอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่เพาะปลูก บริเวณที่ราบลุ่ม หรือบนเนินเขา สถานที่อยู่อาศัยของพวกเขามักอยู่ไม่ไกลจากแหล่งน้ำ สามารถพบได้ในบริเวณที่มีความสูง 1,200 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล กระจายสายพันธุ์อยู่ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในประเทศกัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และในประเทศไทยของเรา 

พวกเขาเป็นสัตว์กินเนื้อที่จะออกหากินในช่วงเวลากลางคืน ไม่ไกลจากลำห้วยที่มีความชุ่มชื้น กลางวันมักใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอนหลบซ่อนตัวอยู่ในโพรงดินหรือใต้ขอนไม้ อาหารของพวกเขาคือสิ่งมีชีวิตทุกอย่างที่มีขนาดไม่ใหญ่เกินกว่าปาก 

ส่วนใหญ่มักจะกินงูด้วยกันเอง สัตว์ตัวเล็กตัวน้อยอย่างจิ้งจกหรือตุ๊กแก และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกอย่างกบ อึ่งอ่าง หรือคางคก หากถามว่าพวกเขาดุร้ายเช่นเดียวกับงูเห่าหรืองูจงอางหรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ โดยปกติแล้วพวกเขาจะเป็นงูนิ่ง ๆ ดูรักสงบ ไม่มีนิสัยก้าวร้าวเหมือนงูทางมะพร้าวที่ไม่มีพิษแต่ก้าวร้าวและดุร้ายเป็นอย่างมาก

เขี้ยวของงูทับสมิงคลาจะมีขนาดที่เล็กแต่คม เวลาโดนกัด อาจเข้าใจผิดคิดว่าโดนมดกัด กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็มีอาการทางระบบประสาทแสดงออกมาแล้ว ดังนั้น เวลาที่เราเจอพวกเขาอยู่ในบ้าน สิ่งที่ควรทำถึงจึงไม่ใช่การบุกเข้าไปทำร้ายพวกเขา แต่ควรโทรเรียกหน่วยกู้ภัยหรือผู้ที่มีความรู้ความชำนาญมาจับไปจะดีกว่า 

ทำความรู้จักกับฝาแฝดของงูทับสมิงคลา

งูทับสมิงคลา

งูทับสมิงคลาจัดเป็นสัตว์มีพิษที่อันตรายร้ายแรงอันดับต้น ๆ ในประเทศไทย ภาพจำของพวกเขาคือ งูที่มีลำตัวเป็นสีขาวสลับดำเหมือนกับทางม้าลาย เวลาคนเห็นงูที่มีสีสันดังกล่าวจึงมักจะคิดว่าเป็นงูทับสมิงคลาเอาไว้ก่อน 

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีงูไทยมีลักษณะคล้ายกับงูทับสมิงคลาอยู่เช่นกันนั่นก็คือ งูปล้องฉนวน ซึ่งเป็นงูที่ไม่มีพิษและไม่มีความดุร้ายแต่อย่างใด งูปล้องฉนวนจะกินสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกตัวเล็ก ๆ เท่านั้น สำหรับมนุษย์หรือสัตว์เลี้ยงแล้ว พวกมันจึงแทบจะไม่เป็นอันตรายเลย หากถูกกัดก็แค่เป็นแผลตามรอยเขี้ยวขนาดเล็ก และอาจมีความเสี่ยงแผลติดเชื้อก็เท่านั้น 

วิธีจำแนกงูทับสมิงคลาและงูปล้องฉนวน

งูทับสมิงคลา

งูปล้องฉนวน เป็นงูที่น่าสงสารเป็นอย่างมาก เพราะพวกเขามักจะถูกเข้าใจผิดว่าเป็นงูทับสมิงคลาที่มีพิษสัตว์ร้ายแรงถึงชีวิตอยู่เสมอ เจ้าพวกงูไร้พิษไม่รู้อีโหน่อีเหน่พวกนี้จึงมักจะถูกตีตายอยู่เป็นประจำ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว พวกเขามีความสำคัญกับระบบนิเวศไม่แพ้กับสัตว์สายพันธุ์อื่น แถมวิธีการจำแนกพวกเขาออกจากกันยังทำได้ง่ายอีกด้วย ขอเพียงแค่มีสติก็สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าเท่านั้น 

วิธีการสังเกตคือ ให้เราดูบริเวณเกล็ดกลางหลังเป็นหลัก งูปล้องฉนวนจะมีเกล็ดที่เท่ากันตลอดทั้งลำตัว แต่งูทับสมิงคลาเกล็ดกลางหลังจะมีเกล็ดขนาดใหญ่และเป็นรูปทรงหกเหลี่ยม หรือจะสังเกตเกล็ดบนหัวของพวกเขาก็ได้เช่นกัน งูที่ไม่มีพิษส่วนใหญ่มักมีเกล็ดบนหัวกับลำตัวขนาดเท่ากัน ส่วนงูที่มีพิษจะมีเกล็ดขนาดใหญ่บนหัว 2 อัน ที่ใหญ่จนสามารถสังเกตเห็นได้ในพริบตา 

ติดตามเรื่องราวอื่น ๆ เกี่ยวกับสัตว์โลกแสนรู้ได้ที่ Animalkingdom.me

บทความที่เกี่ยวข้อง

Leave a Comment